สำหรับน้องๆ ท่านใดที่ต้องการจะเป็นพี่หมอใจดีรักษาสัตว์ วันนี้ผมขอนำเสนอข้อมูล มีที่ไหนเปิดสอน คุณสมบัติ เกณฑ์คัดเลือก เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบ !!!
ก่อนอื่นขอแนะนำ สถาบันที่ได้รับการรับรองแล้ว 6 สถาบัน โดยกลุ่มนี้จะผ่านการรับรองมีนักศึกษาสำเร็จการศึกษาไปแล้วหลายรุ่น มั่นใจได้ว่าเรียนที่นี่ได้สอบใบประกอบวิชาชีพแน่ ๆ
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
และอีกลุ่มคือ สถาบันที่อยู่ระหว่างการดำเนินการรับรองปริญญาฯ ยังไม่เคยมีนักศึกษาจบ โดยทางสัตวแพทย์ นั้นจะเข้าตรวจเยี่ยม ประเมินคุณภาพอยู่เรื่อยๆ โดยส่วนตัว เชื่อว่าท้ายที่สุดน่าจะผ่านทุกสถาบัน ถ้าน้องๆ เกิดสนใจจะสมัครจริงๆ แนะนำให้โทรไปที่ สัตวแพทย์สภา สอบถามถึงความคืบหน้า ของการรับรอง
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
- มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( เปิดรับนักศึกษาปี 58 ปีแรกเน้นระบบรับตรง รับน้อยมาก)
คุณสมบัติทั่วไป ( รอบแอด)
- จบการศึกษา ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
- จบการศึกษา ม.ปลาย สายวิทย์-คณิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
คุณสมบัติทางร่างกาย
เป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงานและการประกอบวิชาชีพ ดังนี้
1. มีปัญหาทางจิตเวชรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือ ผู้อื่น เช่น โรคจิต/(Psychotic Disorders) กลุ่มอาการออทิสซึม (Autistic Spectrum) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurosis Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ
2.เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ
3. เป็นโรคไม่ติดต่อ หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพ ดังนี้
- ลมชักที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ (โรคลมชักที่ไม่มีอาการชักมาแล้วอย่างน้อย 3 ปี โดยมีการรับรองจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถือเป็นโรคลมชักที่ควบคุมได้)
- โรคหัวใจระดับรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ โรคความดันโลหิตรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เกิดพยาธิสภาพต่ออวัยวะอย่างถาวร
- ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
- โรคติดสารเสพติดให้โทษ
- โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ข้างต้น แต่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกาย เห็นว่า เป็น อุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพ
4 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีความผิดปกติอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
- ตาบอดทั้งสองข้าง
- ระดับการมองเห็นในตาข้างที่ดีหลังจากได้รับการแก้ไขแล้ว แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40 เฉพาะคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์และคณะพยาบาลศาสตร์
- ไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติเฉพาะคณะทันตแพทยศาสตร์
5 มีความผิดปกติในการได้ยิน โดยมีระดับการได้ยินของหูข้างที่ดีกว่าเฉลี่ยที่ความถี่ 500-2000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensory neural hearing loss)
ตัวอย่าง โครงสร้างของหลักสูตร คณะสัตวแพทย์
ขั้นเตรียมสัตวแพทย์ 1 ปี : ศึกษาวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี
ชั้นพรีคลินิก 2 ปี : ศึกษาวิชาทางสัตวบาล พื้นฐานวิชาชีพ วิชาชีพขั้นพรีคลินิก ( วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางสัตวแพทย์)
ชั้นคลินิก 3 ปี : ศึกษาแบบบูรณาการเกี่ยวกับโรคสัตว์ การวินิจฉัย การรักษา การป้องกัน โดยศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ทั้งทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม และยังมีการศึกษาชั้นคลินิก โดยแต่ละสถาบันอาจจะมีไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง เช่น คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง คลินิกม้า คลินิกสุกร คลินิกสัตว์ปีก คลินิกสัตวเลี้ยงขนาดเล็ก คลินิกสัตว์ป่า
ขั้นเตรียมสัตวแพทย์ 1 ปี : ศึกษาวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเลือกเสรี
ชั้นพรีคลินิก 2 ปี : ศึกษาวิชาทางสัตวบาล พื้นฐานวิชาชีพ วิชาชีพขั้นพรีคลินิก ( วิทยาศาสตร์พื้นฐานทางสัตวแพทย์)
ชั้นคลินิก 3 ปี : ศึกษาแบบบูรณาการเกี่ยวกับโรคสัตว์ การวินิจฉัย การรักษา การป้องกัน โดยศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ ทั้งทางด้านอายุรกรรม ศัลยกรรม และสูติกรรม และยังมีการศึกษาชั้นคลินิก โดยแต่ละสถาบันอาจจะมีไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่าง เช่น คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง คลินิกม้า คลินิกสุกร คลินิกสัตว์ปีก คลินิกสัตวเลี้ยงขนาดเล็ก คลินิกสัตว์ป่า
การรับสมัครคัดเลือก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ระบบ Admissions กลาง
เกณฑ์คัดเลือก GPAX 20% O-NET 30% GAT 20% PAT2 30%
ต้องบอกว่าคะแนนในรอบแอดสูงพอสมควรเลยครับ เฉพาะ ม.รัฐ
ต้องบอกว่าคะแนนในรอบแอดสูงพอสมควรเลยครับ เฉพาะ ม.รัฐ
ระบบแอดกลางนี่ ถ้าเป็น ม.รัฐสถาบันที่ผ่านการรรับรองแล้วจะเห็นคะแนน 20100-20700 เลยครับ
เป้าหมายแบบสอบติดจุฬา อย่างน้อยต้องมองไปที่ตำสุดของปีก่อนนะครับ
GPAX 3.6
O-NET 64 %
GAT 270
PAT2 140
ถ้าทำได้ประมาณนี้คะแนนจะได้ 27600 ซึ่งผมคิดว่าติด จุฬาฯ ได้นะครับ เพราะ ปี 59 คะแนนอาจจะลดลงเพราะ O-NET มีการปรับวิชา คะแนนน่าจะลดลง
เป้าหมายแบบสอบติดจุฬา อย่างน้อยต้องมองไปที่ตำสุดของปีก่อนนะครับ
GPAX 3.6
O-NET 64 %
GAT 270
PAT2 140
ถ้าทำได้ประมาณนี้คะแนนจะได้ 27600 ซึ่งผมคิดว่าติด จุฬาฯ ได้นะครับ เพราะ ปี 59 คะแนนอาจจะลดลงเพราะ O-NET มีการปรับวิชา คะแนนน่าจะลดลง
การรับสมัครคัดเลือก คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ ระบบ รับตรง
* ของ ม.เกษตร ยังมี อีก 2 โครงการหลักคือ โครงการเรียนล่วงหน้า , โครงการทายาทเกษตกร
* โครงการนักกีฬาของหลายๆมหาวิทยาลัยก็เปิดรับนะครับ คณะสัตวแพทย์แต่รับน้อยมาก
* โครงการนักกีฬาของหลายๆมหาวิทยาลัยก็เปิดรับนะครับ คณะสัตวแพทย์แต่รับน้อยมาก
*จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นรับตรง ส่วนใหญ่จะกำหนด GPAX ขั้นต่ำไว้ที่ 3.00 ทั้งนั้นเลย >..<
*ใครจะเข้า เกษตร มหิดล ก็ต้องสอบ วิชาสามัญด้วย
* โครงการพิเศษ ม.ขอนแก่น ค่าเทอมจะสูงกว่าปกตินะ
*ใครจะเข้า เกษตร มหิดล ก็ต้องสอบ วิชาสามัญด้วย
* โครงการพิเศษ ม.ขอนแก่น ค่าเทอมจะสูงกว่าปกตินะ