ในสายวิทยาศาสตร์หลายๆ คนคงคิดว่าสาขาที่รายได้สูงๆ คงจะเป็น เคมี หรือไม่ก็คอม แต่จากผลสำรวจล่าสุด เดือน เมษา 56 จาก ม.เกษตรศาสตร์ พบว่า สาขาที่เงินเดือนเฉลี่ยสูงสุด คือ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ วันนี้ UniGang เลยจะมาแนะนำสาขานี้ให้น้องๆ ได้อ่านกัน
ธรณีศาสตร์ , วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ ต่างกันอย่างไร
1.ธรณีวิทยา+ธรณีศาสตร์ = เน้นไปที่เรื่องบนดิน พวกหิน แร่ การสำรวจ
ธรณีโครงสร้าง ธรณีฟิสิกส์ บรรพชีวินวิทยา(ซากฟอสชิล)
ธรณีโครงสร้าง ธรณีฟิสิกส์ บรรพชีวินวิทยา(ซากฟอสชิล)
2.วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ = รู้สึกว่าจะกว้างกว่าข้างบน เรียนทุกอย่างบนโลกนี้
พื้นดิน อากาศ ชั้นบรรยากาศ แต่ก็คล้ายๆ ธรณีวิทยา ธรณีศาสตร์
พื้นดิน อากาศ ชั้นบรรยากาศ แต่ก็คล้ายๆ ธรณีวิทยา ธรณีศาสตร์
ข้อมูลสรุปโดย จากคุณ ปรุงฉัตร
มหาวิทยาลัยที่เปิดทางด้านธรณี ในระดับปริญญาตรี
การเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาธรณีวิทยา จะต้องมี ความรอบรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเน้นวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และสมัครสอบเข้าศึกษาได้โดยการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)
- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geology) คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ภาควิชาธรณีวิทยา (Geological Sciences) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี (Geotechnology) มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาวิชาธรณีศาสตร์ (Geosciences) ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ (Earth Sciences) ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.)
- นักธรณีวิทยา คือ ใคร ทำงานเกี่ยวกับด้านไหนได้บ้าง
อาชีพ หรือวิชาชีพนักธรณีวิทยานั้น ถือว่าเป็นวิชาชีพแบบหนึ่ง เหมือน ๆ กับ วิศกร หมอ ทนายความ ครับ และเป็นอาชีพที่มีการเรียนการสอนมานานตั้งแต่สมัยโบราณ จากด้านชาวตะวันตก แต่ว่าชาวไทยปัจจุบันนั้นยังรู้จักกันน้อยอยู่ครับ
คำว่าธรณีวิทยาในภาษาอังกฤษคือ Geology มาจากภาษากรีก γη- (เก-, โลก) และ λογος (ลอกอส, ถ้อยคำ หรือ เหตุผล)
ธรณีวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย
อาชีพ หรือวิชาชีพนักธรณีวิทยานั้น ถือว่าเป็นวิชาชีพแบบหนึ่ง เหมือน ๆ กับ วิศกร หมอ ทนายความ ครับ และเป็นอาชีพที่มีการเรียนการสอนมานานตั้งแต่สมัยโบราณ จากด้านชาวตะวันตก แต่ว่าชาวไทยปัจจุบันนั้นยังรู้จักกันน้อยอยู่ครับ
คำว่าธรณีวิทยาในภาษาอังกฤษคือ Geology มาจากภาษากรีก γη- (เก-, โลก) และ λογος (ลอกอส, ถ้อยคำ หรือ เหตุผล)
ธรณีวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย
เส้นทางสู่นักธรณีวิทยานั้นต้องทำอย่างไรบ้าง เรียนอะไรบ้าง
เนื่องจากวิชาธรณีวิทยานั้นถือว่า เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือมีการนำเอาความรู้วิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ ได้แก่ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมคณิตศาสตร์ มาใช้ในการอธิบายเกี่ยวกัยโลกของเรา ดังนั้นนักธรณีวิทยาจึงถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ
ดังนั้นผู้ที่จะมาเรียนวิชาธรณีวิทยานั้น จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษามาด้านสายวิทย์ - คณิต ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายครับ หลังจากจบชั้นม.6แล้ว ก็จะมีการสอบเอ็นทรานซ์(สมัยนั้น) เพื่อเลือกเข้าเรียนคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
การเข้าเรียนนั้นนักเรียนจะต้องเลือกเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ เพราะธรณีวทยานั้น เป็นภาควิชาหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์ และภาควิชาธรณีวิทยานั้นมีการเรียนการสอนอยู่ไม่กี่มหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมด มหาวิทยาลัยเอกชนนั้นไม่มีการเรียนการสอนในด้านนี้ แรกเร่มนั้นธรณีวิทยามีสอนอยู่แค่ 3 มหาวิทยาลัยเท่านั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(เป็นภาควิชาเทคโนโลยีธรณีวิทยา) ปัจจุบันมีการสอนเพิ่มอีก 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครับ เห็นไหมครับนี่คือข้อได้เปรียบของการด้านนี้ เพราะมีคนที่จะได้เรียนนั้นไม่มากเท่าไหร่
ตอนเข้าเรียนปี 1. ซึ่งเป็นปีแรกของการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น ทุกคนจะได้เรียนรวมกันหมดในคณะวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีการแยกสาขาวิชา โดยการเรียนคณะวิทยาศาสตร์นั้นบางวิชาก็จะเรียนรวมกันหมดทั้ง แพทย์ พยาบาล วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั้งหมด พอเข้าปีที่ 2. จึงค่อยมีการเลือกสาขาวิชาที่เราจะเรียน ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าคณะวิทยาศาตร์นั้นมีสาขาวิชาต่าง ๆ ให้เลือกเรียนถึง 13 สาขาวิชา เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วัสดุศาสตร์ ธรณีวิทยา อัญมณีวิทยา เคมีอุตสาหการ คณิตศาสตร์ สถิติ ชีวเคมี เป็นต้น ซึ่งใครจะเลือกเรียนด้านไหนนั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล เพราะการเรียนการสอนนั้นแตกต่างกัน และการทำงานก็ต่างกัน
ส่วนธรณีวิทยานั้น หลัก ๆก็จะเป็นการเรียนการสอนในภาคทฤษฏีในห้องเรียน แต่ที่แตกต่างจากสาขาอื่นก็คือ ยังมีการเรียนในภาคสนามด้วยในบางวิชาที่ต้องออกสำรวจในพื้นที่จริงด้วย ดังนั้นนักธรณีวิทยาจึงได้มีโอกาศเดินทางอยู่บ่อยมาก
สิ่งที่จะได้พัฒนาขึ้นอยางชัดเจนในการเรียนธรณ๊วิทยา คือ ภาษาอังกฤษ เพราะตำราสมัยก่อนนั้นเราเรียนมาจากชาวตะวันตกเป็นคนคิดค้นมาก่อน อาจารย์ที่สอนในยุคบุกเบิกก็สอนแบบทับศัพท์เลย ตำราเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ บางรายวิชาก็เชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาสอน จึงได้ภาษามาด้วยอีกขั้นหนึ่ง
หลังจากเรียนมาแล้วจนครบหลักสูตร นักธรณีวิทยาก็จะแยกย้ายกันไปทำงานในด้านต่าง ๆ ในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การสำรวจเหมืองแร่ต่าง ๆ รับราชการในกรมทรัพยากรธรณี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมน้ำ กรมพลังงานทหาร เป็นต้น นอกจากนี้ก็เป็นบริษัทเอกชน มหาชนต่าง ๆ หรืองานในต่างประเทศก็มีงานด้านนี้รองรับอยู่
เนื่องจากวิชาธรณีวิทยานั้นถือว่า เป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือมีการนำเอาความรู้วิทยาศาสตร์ด้านอื่น ๆ ได้แก่ ฟิสิกส์ ชีววิทยา เคมคณิตศาสตร์ มาใช้ในการอธิบายเกี่ยวกัยโลกของเรา ดังนั้นนักธรณีวิทยาจึงถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ครับ
ดังนั้นผู้ที่จะมาเรียนวิชาธรณีวิทยานั้น จะต้องเป็นผู้ที่ศึกษามาด้านสายวิทย์ - คณิต ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายครับ หลังจากจบชั้นม.6แล้ว ก็จะมีการสอบเอ็นทรานซ์(สมัยนั้น) เพื่อเลือกเข้าเรียนคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ
การเข้าเรียนนั้นนักเรียนจะต้องเลือกเข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ เพราะธรณีวทยานั้น เป็นภาควิชาหนึ่งในคณะวิทยาศาสตร์ และภาควิชาธรณีวิทยานั้นมีการเรียนการสอนอยู่ไม่กี่มหาวิทยาลัยเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งหมด มหาวิทยาลัยเอกชนนั้นไม่มีการเรียนการสอนในด้านนี้ แรกเร่มนั้นธรณีวิทยามีสอนอยู่แค่ 3 มหาวิทยาลัยเท่านั้น ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(เป็นภาควิชาเทคโนโลยีธรณีวิทยา) ปัจจุบันมีการสอนเพิ่มอีก 2 มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ครับ เห็นไหมครับนี่คือข้อได้เปรียบของการด้านนี้ เพราะมีคนที่จะได้เรียนนั้นไม่มากเท่าไหร่
ตอนเข้าเรียนปี 1. ซึ่งเป็นปีแรกของการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยนั้น ทุกคนจะได้เรียนรวมกันหมดในคณะวิทยาศาสตร์ ยังไม่มีการแยกสาขาวิชา โดยการเรียนคณะวิทยาศาสตร์นั้นบางวิชาก็จะเรียนรวมกันหมดทั้ง แพทย์ พยาบาล วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทั้งหมด พอเข้าปีที่ 2. จึงค่อยมีการเลือกสาขาวิชาที่เราจะเรียน ซึ่งช่วงนี้มีความสำคัญมาก เพราะว่าคณะวิทยาศาตร์นั้นมีสาขาวิชาต่าง ๆ ให้เลือกเรียนถึง 13 สาขาวิชา เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วัสดุศาสตร์ ธรณีวิทยา อัญมณีวิทยา เคมีอุตสาหการ คณิตศาสตร์ สถิติ ชีวเคมี เป็นต้น ซึ่งใครจะเลือกเรียนด้านไหนนั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล เพราะการเรียนการสอนนั้นแตกต่างกัน และการทำงานก็ต่างกัน
ส่วนธรณีวิทยานั้น หลัก ๆก็จะเป็นการเรียนการสอนในภาคทฤษฏีในห้องเรียน แต่ที่แตกต่างจากสาขาอื่นก็คือ ยังมีการเรียนในภาคสนามด้วยในบางวิชาที่ต้องออกสำรวจในพื้นที่จริงด้วย ดังนั้นนักธรณีวิทยาจึงได้มีโอกาศเดินทางอยู่บ่อยมาก
สิ่งที่จะได้พัฒนาขึ้นอยางชัดเจนในการเรียนธรณ๊วิทยา คือ ภาษาอังกฤษ เพราะตำราสมัยก่อนนั้นเราเรียนมาจากชาวตะวันตกเป็นคนคิดค้นมาก่อน อาจารย์ที่สอนในยุคบุกเบิกก็สอนแบบทับศัพท์เลย ตำราเรียนส่วนใหญ่ก็เป็นภาษาอังกฤษ บางรายวิชาก็เชิญอาจารย์จากต่างประเทศมาสอน จึงได้ภาษามาด้วยอีกขั้นหนึ่ง
หลังจากเรียนมาแล้วจนครบหลักสูตร นักธรณีวิทยาก็จะแยกย้ายกันไปทำงานในด้านต่าง ๆ ในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม การสำรวจเหมืองแร่ต่าง ๆ รับราชการในกรมทรัพยากรธรณี กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมน้ำ กรมพลังงานทหาร เป็นต้น นอกจากนี้ก็เป็นบริษัทเอกชน มหาชนต่าง ๆ หรืองานในต่างประเทศก็มีงานด้านนี้รองรับอยู่
มีภาพบรรยากาศการเรียนการสอนโดยการออกภาคสนามในพื้นที่จริง ในปีที่ 2 กำลังจะขึ้นปีที่ 3 มาให้ดูครับ ในช่วงที่ทุกคนปิดเทอมกันอยู่นั้น เป็นช่วงที่เรานักศึกษาธรณีวิทยาจะได้ออกภาคสนามกันครับ มีอยู่ 2 รายวิชา คือตอนปี 2 กับตอนปี 3 ครับ
ตอนปี 2 หลังจากเรียนกันแล้ว เราก็จะได้ออกภาคสนาม โดยถือเป็นรายวิชาหนึ่ง เราจะได้เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเรียนรู้ธรณ๊วิทยาประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนเต็ม ได้เดินทางไปตามจังหวัดต่าง ๆ สนุกสนานเพราะถือว่าเป็นการได้ไปเที่ยวด้วยครับ
ตอนปี 2 หลังจากเรียนกันแล้ว เราก็จะได้ออกภาคสนาม โดยถือเป็นรายวิชาหนึ่ง เราจะได้เดินทางไปทั่วประเทศเพื่อเรียนรู้ธรณ๊วิทยาประเทศไทย โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนเต็ม ได้เดินทางไปตามจังหวัดต่าง ๆ สนุกสนานเพราะถือว่าเป็นการได้ไปเที่ยวด้วยครับ
ปีที่ 3 หลังจากเรียนแล้ว ช่วงปิดเทอมก็จะมีอีกวิชาที่ต้องไปออกภาคสนามครับ โดยครั้งนี้เป็นการสำรวจการทำแผนที่ธรณีวิทยา ในเขตภาคต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นอยู่ทางภาคเหนือ รุ่นผมนั้นอาจารย์ได้กำหนดให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยจัดเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มละ 4 คน ชาย2 คน หญิง 2 คน แล้วเราก็จะต้องไปพักในพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านเป็นเวลา1 เดือนครับ ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก และน่าประทับใจ
วัน ๆ อยู่กับธรรมชาติ กลางป่าเขาลำเนาไพร ครับ ดังนั้นนักธรณีวิทยาจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงเสมอทั้งกายและใจครับ บางครั้งเหนื่อยมากก็ต้องปีน ไต่เขากันครับ อาหารการกินทำกันเอง ที่พักก็พักที่โรงเรียนในหมู่บ้านนั้นๆ ซึ่งค่อนข้างไม่เจริญหน่อยครับ คลื่นโทรศัพท์นั้นไม่มีแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย
ถาม: ผู้หญิงกับธรณีวิทยา?
ตอบ: ปัจจุบันมีนักศึกษาหญิงและนักธรณีหญิงจำนวนมาก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้หญิงสามารถเรียนและประสบผลสำเร็จในสายอาชีพธรณีวิทยาได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ
ตอบ: ปัจจุบันมีนักศึกษาหญิงและนักธรณีหญิงจำนวนมาก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้หญิงสามารถเรียนและประสบผลสำเร็จในสายอาชีพธรณีวิทยาได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ
ถาม: เรียนธรณีวิทยาแล้วได้ทำงานบริษัทน้ำมัน?
ตอบ: หลายคนตั้งความหวังไว้ว่า หากเป็นนักธรณีวิทยาแล้วจะได้เข้าทำงานในบริษัทสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ซึ่งให้ค่าตอบแทนหรือเงินเดือนค่อนข้างสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วตำแหน่งงานที่เปิดรับในสายนี้มีจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เรียนจบธรณีวิทยาทั่วประเทศในแต่ละปี ดังนั้นจึงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ทำงานในสายนี้ งานของนักธรณีวิทยามีอย่างอื่นอีกมากมายดังที่ได้แนะนำไว้ในหัวข้อ แหล่งงานประกอบอาชีพ
ตอบ: หลายคนตั้งความหวังไว้ว่า หากเป็นนักธรณีวิทยาแล้วจะได้เข้าทำงานในบริษัทสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ซึ่งให้ค่าตอบแทนหรือเงินเดือนค่อนข้างสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วตำแหน่งงานที่เปิดรับในสายนี้มีจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เรียนจบธรณีวิทยาทั่วประเทศในแต่ละปี ดังนั้นจึงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ทำงานในสายนี้ งานของนักธรณีวิทยามีอย่างอื่นอีกมากมายดังที่ได้แนะนำไว้ในหัวข้อ แหล่งงานประกอบอาชีพ
ถาม: เรียนธรณีวิทยาที่ไหนดีที่สุด?
ตอบ: ทุกสถาบันที่เปิดสอนธรณีวิทยาในประเทศไทยมีมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับดีเท่ากัน บัณฑิตที่จบจากทุกสถาบันสามารถสมัครงานในตำแหน่งนักธรณีวิทยาได้เหมือนกัน การเลือกสถานที่เรียนจึงขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว เช่นเดียวกับการสมัครงานก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเอง
ตอบ: ทุกสถาบันที่เปิดสอนธรณีวิทยาในประเทศไทยมีมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับดีเท่ากัน บัณฑิตที่จบจากทุกสถาบันสามารถสมัครงานในตำแหน่งนักธรณีวิทยาได้เหมือนกัน การเลือกสถานที่เรียนจึงขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว เช่นเดียวกับการสมัครงานก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเอง
ถาม: แนวโน้มตลาดงานธรณีวิทยาในอนาคต
ตอบ: งานในประเทศไทยมีจำกัด นักธรณีวิทยาไทยจะมีการทำงานในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการสำรวจ การสมัครงานแข่งขันกับนักธรณีวิทยาต่างชาติ การศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีจะมีความจำเป็น ปัจจุบันประเทศไทยต้องการนักธรณีวิทยาด้านงานวิจัยและการสอนจำนวนมาก
ตอบ: งานในประเทศไทยมีจำกัด นักธรณีวิทยาไทยจะมีการทำงานในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการสำรวจ การสมัครงานแข่งขันกับนักธรณีวิทยาต่างชาติ การศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีจะมีความจำเป็น ปัจจุบันประเทศไทยต้องการนักธรณีวิทยาด้านงานวิจัยและการสอนจำนวนมาก
ขอบคุณ http://geothai.net/