เที่ยวชม มหาวิทยาลัยแม่โจ้


มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ เดิมทีคือ โรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรมประจำมณฑลพายัพ ( ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยราชัฏเชียงใหม่ ) และต่อมาได้สถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2539
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่ที่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และมีอีก 3 วิทยาเขต ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
2. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
3. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ( กำลังก่อสร้าง )
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ ต้นอินทนิล อันมีความหมายถึง ความแข็งแกร่ง ความอดทน ความรัก ความสามัคคี และความกลมเกลียว ของลูกแม่โจ้ทุกคน
ต้นอินทนิลออกดอกสีม่วงงามสง่า
สัญลักษณ์และตราประจำมหาวิทยาลัยแม่โจ้คือ พระพิรุณทรงนาค 

บรรยากาศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ป้ายของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประตูทางเข้าของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เขียนเอาไว้ว่า The Home of Cowboys

ภาพถ่ายจากมุมสูง ทำให้เห็นพื้นที่เกือบทั้งหมดของมหาวิทยาลัย

ฟาร์มของมหาวิทยาลัย

ทางเข้าฟาร์ม

บรรยากาศของมหาวิทยาลัยยามเย็น

ถนนทางเข้ามหาวิทยาลัยร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ริมทางมากมาย

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย พระพิรุณทรงนาค หน้าอาคารช่วงเกษตรศิลป์

อนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปากร
อนุสาวรีย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้

อนุสาวรีย์ผู้ใช้แรงงาน ตั้งอยู่หน้าประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย

อนุสาวรีย์งานหนักไม่เคยฆ่าคน ตั้งอยู่ในสวนพรพิรุณ เป็นสัญลักษณ์แสดงจุดยืนของลูกแม่โจ้
หอนาฬิกาในสวนวังซ้าย
สระว่ายน้ำ"อุบลรัตนราชกัญญา"
อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์นักศึกษา หรือ Cowboys Mall ตอนกลางคืนเปิดไฟสวยมาก
The Home of Cowboys

นศ.พืชไร่ ลงฟาร์ม ถึงจะเหนื่อยแต่ก็มีความสุข ^^
นศ.พืชไร่ ลงฟาร์ม
ตัวอย่างชุดครุยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
และก็ถึงวันที่สำเร็จการศึกษา ในชุดครุยที่สง่างาม ท่ามกลางเสียงปรบมือจากลูกแม่โจ้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร นับว่าเป็นเกียรติแก่ลูกแม่โจ้ทุกคน
งานหนัก ไม่เคยฆ่าคน (Hard Work Never Kills Anyone) คือปรัชญาของลูกแม่โจ้ทุกคน

ผมูมิใจที่ได้เป็นลูกแม่โจ้ 

เรียบเรียงโดย: Zsmiinii
ที่มา: http://th.wikipedia.org