อึ้ง 'วิทย์-คณิต' เด็กไทยย่ำแย่ ป.4 ยัน ม.2-จี้พัฒนาครู - ร.ร.


UploadImage         

ผู้บริหาร สสวท.อึ้ง! ผลประเมิน'วิทย์-คณิต' ป.4-ม.2 จาก 52 ประเทศทั่วโลก ไทยอยู่ระดับแย่คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปี'50 ม.2 ภาคเหนือตอนบนน่าห่วงที่สุด ส่วน ป.4 ภาคใต้-อีสานตอนบนคะแนนต่ำสุด


          นายปรีชาญ เดชศรี รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยผลวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับ นานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011 จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA ว่า การประเมินของ TIMSS ในปี 2554 ประเทศไทยได้เข้าร่วมประเมินในระดับชั้น ม.2 และ ป.4 ในส่วนของ ม.2 นั้น มีประเทศที่เข้าร่วมประเมิน 45 ประเทศทั่วโลก โดยไทยมีผลคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 427 อยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์ 451 อยู่ในอันดับที่ 25

          "ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2550 พบว่าคะแนนเฉลี่ยลดลงทั้งคณิตและวิทย์ โดยเมื่อปี 2550 คณิตเฉลี่ย 441 และวิทย์ เฉลี่ย 471 อย่างไรก็ตาม การประเมินในปี 2554 ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดวิชาคณิต ได้แก่ เกาหลีใต้ เฉลี่ย 613 ส่วนวิชาวิทย์ คะแนนเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ 590 ขณะที่ไทยเมื่อพิจารณาในภาพรวม ถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ทั้งคณิตและวิทย์"


          นายปรีชาญ กล่าวว่า เมื่อพิจารณาคะแนนโดยจำแนกตามรายสังกัด พบว่าโรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิตศาสตร์ 554 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 600 ส่วนวิทยาศาสตร์เฉลี่ย 552 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 606 แต่ทั้งสองวิชายังมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติซึ่งอยู่ที่ 500 คะแนน ส่วนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีคะแนนเฉลี่ยคณิต 440 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 445 ขณะที่วิทย์มีคะแนนเฉลี่ย 464 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 474 สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) คณิตเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ที่ได้ 381 วิทย์เฉลี่ย 457 เพิ่มกรุงเทพมหานคร (กทม.) คณิตเฉลี่ย 433 เพิ่มขึ้นจากปี 2007 ที่ได้ 381 วิทย์เฉลี่ย 457 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ได้ 424 สังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น คณิตศาสตร์เฉลี่ย 424 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 474 วิทย์เฉลี่ย 450 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 501 และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) วิชาคณิตเฉลี่ย 419 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 504 วิทย์เฉลี่ย 441 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 528


          นายปรีชาญ กล่าวต่อว่า ส่วนคะแนนที่จำแนกตามภูมิภาค พบว่า ภาคตะวันออกและปริมณฑลมีคะแนนสูงขึ้นทั้งคณิตและวิทย์ โดยภาคตะวันออกมีคะแนนเฉลี่ยคณิต 495 สูงกว่าปี 2550 ที่ได้ 427 วิทย์ 508 สูงกว่าปี 2550 ที่ได้ 466 ส่วนปริมณฑล คณิตเฉลี่ย 481 สูงกว่าปี 2550 ที่ได้ 436 วิทย์เฉลี่ย 506 สูงกว่าปี 2550 ที่ได้ 472 ขณะที่ ภูมิภาคอื่นๆ มีคะแนนเฉลี่ยลดลง โดยเฉพาะภาคเหนือตอนบนคะแนนลดลงจนน่าเป็นห่วง โดยคณิตเฉลี่ย 415 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 483 และวิทย์ 441 ลดลงจากปี 2550 ที่ได้ 510


          นายปรีชาญ กล่าวอีกว่า ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 มี 52 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม ซึ่งไทยเข้าร่วมประเมินเป็นครั้งแรก พบว่าไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิต 458 อยู่อันดับที่ 34 และวิทย์ 472 อยู่อันดับที่ 29 โดยประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิต ได้แก่ สิงคโปร์ 606 คะแนน ส่วนประเทศที่วิชาวิทย์สูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 587 คะแนน อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในภาพรวม ไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (poor) ในวิชาคณิต ส่วนวิทย์อยู่ในระดับพอใช้ (Fair)

          "ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามรายสังกัดพบว่า โรงเรียนสาธิตมีคะแนนเฉลี่ยคณิต 540 และวิทย์ 562 สูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่กำหนดไว้ 500 คะแนน โรงเรียนสังกัด กทม. คะแนนเฉลี่ยคณิต 502 และวิทย์ 522 โรงเรียนเอกชน คณิตเฉลี่ย 487 วิทย์เฉลี่ย 509 โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ ท้องถิ่น คณิตเฉลี่ย 476 และวิทย์ 495 และโรงเรียนสังกัด สพฐ.คณิต เฉลี่ย 446 และวิทย์ 456 ซึ่งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วน 456 ซึ่งโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น และ สพฐ.ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ"


          นายปรีชาญ กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบตามภูมิภาค นักเรียนในกรุงเทพฯมีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทั้งสองวิชา ส่วนนักเรียนภาคตะวันออก และภาคตะวันตก มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติในวิชาวิทย์ และนักเรียนภาคอีสานตอนบนมีคะแนนคณิตต่ำที่สุด และภาคใต้มีคะแนนวิทย์ต่ำที่สุด

          "เมื่อดูภาพรวมของเด็กไทยในระดับชั้น ป.4 คณิต 88% มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง หรือมีคะแนนต่ำกว่า 400-550 คะแนน และมีเพียง 12% ที่ได้คะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า หรือมีคะแนนสูงกว่า 550 คะแนน ส่วนวิทย์เด็กไทย 80% มีความสามารถตั้งแต่ระดับที่ต่ำมากไปจนถึงระดับปานกลาง และมีเพียง 20% มีคะแนนอยู่ในระดับสูงถึงระดับก้าวหน้า" นายปรีชาญกล่าว


          นายปรีชาญ กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยครั้งนี้ ยังได้สำรวจด้านครูผู้สอน พบว่าทั้งระดับชั้น ป.4 และ ม.2 ส่วนใหญ่ครูไทยจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งสูงกว่าสิงคโปร์ แต่ผลการประเมินที่ออกมากลับต่ำกว่าสิงคโปร์ค่อนข้างมากทั้ง 2 วิชา นอกจากนี้ยังพบว่าครูไทยมีความมั่นใจในการสอน และความพร้อมในการเตรียมการสอนทั้ง 2 วิชาอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น หลังจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างเร่ง ด่วน โดยต้องพัฒนาครู สถานศึกษา และนักเรียนไปพร้อมๆ กัน

          "สำหรับเนื้อหาหลักสูตรคณิตและวิทย์ของไทยตรงกับเนื้อหาการประเมิน 100% แต่ไทยจัดการเรียนการสอนให้สำเร็จได้เพียง 30% เท่านั้น ในขณะที่สิงคโปร์เนื้อหาตรงการประเมินเพียง 70% แต่จัดการเรียนได้สำเร็จ 100%"


          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประเทศที่เข้าร่วมวิจัยการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ สหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล เบลเยียม อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เยอรมนี เดนมาร์ก ไต้หวัน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เกาหลี ไทย เป็นต้น



ที่มา: มติชน