นพ.อาวุธ ศรีศุกรี
เลขาธิการกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
เปิดเผยในการเสวนาเรื่อง
"การประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรตอบสนองความต้องการด้านวิชาชีพ"
เมื่อเร็วๆ นี้
ว่า แพทยสภาจัดตั้งขึ้นเพื่อควบคุมสถาบันผลิตแพทย์
คุมจรรยาบรรณแพทย์ และควบคุมสถาบันที่ให้การรักษาพยาบาล
โดยมีคณบดีคณะแพทยศาสตร์ทุกแห่งเป็นสมาชิก
หากเกิดปัญหาขึ้นก็สามารถหารือและแก้ไขปัญหาได้ทันที
อย่างไรก็ตามในส่วนของงานด้านวิชาการนั้นแพทยสภามอบอำนาจให้
กสพท.ดำเนินการแทนเกือบทั้งหมด ทั้งการอนุมัติหลักสูตร
การเปิดโรงเรียนแพทย์ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
แม้ว่าการจัดตั้งคณะแพทย์จะเป็นอำนาจของแต่ละมหาวิทยาลัยโดยตรงแต่
มหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาได้ก็ต่อเมื่อหลักสูตรได้รับการอนุมัติจาก
กสพท.ที่ได้รับมอบอำนาจจากแพทยสภา
ซึ่งก็พบว่าบางมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาก่อนเสนอหลักสูตร
ทำให้นักศึกษามีปัญหาไม่สามารถประกอบวิชาชีพแพทย์ได้เพราะหลักสูตรยังไม่
ผ่านการรับรองนพ.อาวุธ กล่าวต่อว่า ส่วนที่หลายฝ่ายแสดงความห่วงประเทศไทยก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 วิชาชีพแพทย์จะสามารถเลื่อนไหลภายในประชาคมและจะส่งผลกระทบต่อแพทย์ไทยหรือ ไม่นั้น ตนเห็นว่าปัจจุบันการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม จะสอบ 2 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นสอบภาคทฤษฎี ซึ่งภายใน 2 ปี จากนี้ข้อสอบจะเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อความเป็นสากล ส่วนที่สองเป็นสอบภาคปฏิบัติ ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ยังคงใช้การสื่อสารเป็นภาษาไทย และเน้นผลลัพธ์การรักษาเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดการสอบเพื่อขอใบประกอบวิชาชีพแพทย์ทุก 5 ปี แต่ถ้ามีการสะสมประสบการณ์จากการฝึกอบรมประชุมวิชาการหรือเครดิตทางวิชาการ อยู่เกณฑ์ที่กำหนดก็ไม่ต้องสอบ เพื่อคุณภาพของวิชาชีพ และแพทย์จะได้ค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อนำมารักษาคนไข้ด้วย ขณะเดียวกันสอบ comprehensive หรือการสอบประมวลความรู้ความสามารถของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 และ 5 นั้น จะค่อยๆ ปรับเพิ่มข้อสอบภาษาอังกฤษมากขึ้นจนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เพื่อเตรียมความเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่การสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรทันต แพทยศาสตรบัณฑิตนั้น ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษ เพราะถือว่าเป็นการสอบคัดเลือกวัดความรู้ในขั้นพื้นฐาน
นางมยุรี สิงห์ไข่มุกข์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านติดตามและประเมินผล สำนักมาตรฐานและประเมินผล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กล่าวว่า สกอ.ทำหน้าที่ประสานสถาบันอุดมศึกษาให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไป มาตรฐานที่ สกอ.กำหนด และเป็นไปตามที่องค์กรวิชาชีพกำหนดเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อควบคุมคุณภาพ และคุ้มครองผู้บริโภค แต่ที่ผ่านมามีสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งไปเปิดรับนักศึกษาก่อนที่ สกอ.รับทราบหลักสูตร หรือสภาวิชาชีพจะรับรองหลักสูตร จนเกิดปัญหานักศึกษาไม่สามารถขอรับใบประกอบวิชาชีพได้ ดังนั้น สกอ.จะขอร้องให้สถาบันดำเนินการเรื่องหลักสูตรให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งระยะหลังก็รับการความร่วมมือมากขึ้น
Credit http://www.matichon.co.th