จาก การประชุมทางวิชาการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ประจำปี 2555 เรื่อง "บทบาทของสภาวิชาชีพที่มีต่อการรับรองหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษา" เมื่อเร็วๆ นี้
นายปริญญา กล่าวอีกว่า
นอกจากนี้ได้เสนอให้ปรับเนื้อหาการเรียนการสอนหลักสูตรเนติบัณฑิต
ที่มีข้อจำกัด จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของรัฐธรรมนูญบ่อยครั้ง หรือคิดเป็น 4
ปีต่อฉบับ ทำให้การเรียนการสอนนิติศาสตร์ปัจจุบัน
ต้องไปเน้นเรียนกฎหมายแพ่งและอาญา ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ
เพิ่งจะมาเน้นเรียนจริงจังในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ฉะนั้น
การสอบเนติบัณฑิต เองจะต้องปรับปรุงเนื้อหาการสอบด้วย
ขณะเดียวกันยังเสนอให้มีการจัดทำรายละเอียดการรับรองหลักสูตรนิติศาสตร์
และสถานศึกษาของสภาวิชาชีพด้วย
เพราะปัจจุบันเกณฑ์การรับรองระบุไว้ชัดเจนว่า
สถานศึกษาต้องยึดถือจัดการเรียนการสอนนิติศาสตร์ให้มีมาตรฐานเทียบเท่า
ม.ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ม.รามคำแหง แต่ไม่ชัดเจนในรายละเอียด
"ปัจจุบัน
ประเทศไทยมีนักกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น 3-4 แสนคน มีคดีความอยู่ในศาล 1.2
ล้านคดี มีผู้ถูกดำเนินคดีติดห้องขัง 2.4 แสนคน
ซึ่งในจำนวนนี้แยกเป็นผู้ต้องขังที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี 9 หมื่นคน
สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าการที่มีคณะนิติศาสตร์มาก
ยิ่งมีคดีความสู่ศาลมากเช่นเดียวกัน
ซึ่งเป็นคำถามของคณะนิติศาสตร์ในการผลิตนักกฎหมาย 3-4 แสนคน
แต่ไม่สามารถสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับสังคมได้ อย่างไร
ก็ตาม ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า ต่อจากนี้กลุ่มคณะนิติศาสตร์
จะต้องมีการจัดประชุมต่อเนื่อง ถึงทิศทางการผลิตนักกฎหมาย
การจัดการเรียนการสอนซึ่ง ม.ธรรมศาสตร์
รับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งแรก" นายปริญญา กล่าว
ที่มา http://www.siamrath.co.th