เตรียมพร้อมสอบ “เตรียมทหาร” 4 เหล่าทัพ


UploadImage


ช่วงนี้น้อง ๆ ที่ตั้งเป้าหมายในชีวิตว่าจะเป็น "รั้วของชาติ" หรือเป็น "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ก็ต้องติดตามข้อมูลกันอย่างใกล้ชิด เพราะถือเป็นช่วงเวลาของการใกล้จะประกาศรับสมัคร "นักเรียนเตรียม
ทหาร" ของทั้ง 4 เหล่าทัพคือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ กันแล้ว โดยที่ผ่านมาจะประกาศรับในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

ทำไมถึงต้องเป็นนักเรียนเตรียมทหาร?

เป็นคำถามที่น่าสนใจมากทีเดียว ตามมาดูคำตอบอย่างย่อกันเลย...

1. การเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร นักเรียนจะผ่านการสอบคัดเลือกเพียงครั้งเดียว แล้วจะได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเลย โดยมิต้องสอบคัดเลือกอีก และได้รับเงินเดือน เบี้ยเลี้ยงในขณะศึกษาด้วย

2. เมื่อจบจากโรงเรียนเตรียมทหารจะได้เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่เสียค่าใช้ จ่ายน้อยมาก ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน อีกทั้งมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงให้ในระหว่างที่ศึกษาอยู่

3. โรงเรียนของเหล่าทัพ มีทุนการศึกษาระยะยาวในต่างประเทศให้แก่นักเรียน ที่เรียนดีในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ทุกเหล่า

4. เมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนของเหล่าทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว จะได้รับพระราชทานยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี และร้อยตำรวจตรี ได้รับพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตร ตามสาขาวิชาและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการทันทีโดยมิต้องหางานทำอีก

5. จะได้รับราชการในอาชีพที่มีเกียรติ เป็นที่ยอมรับ สมศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายชาวไทย

คุณสมบัติของผู้สมัคร (โดยย่อ)

    * สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.๓) หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า

    * อายุ ไม่ต่ำกว่า14 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 17 ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

    * มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และบิดา มารดา มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด แต่ถ้าบิดาเป็นนายทหารสัญญาบัตร นายตำรวจสัญญาบัตร หรือนายทหารประทวน นายตำรวจประทวน ซึ่งมีสัญชาติไทยโดยกำเนิดแล้ว มารดาจะมิใช่เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิดก็ได้

    * มี อวัยวะ รูปร่างลักษณะท่าทาง ขนาดของร่างกายเหมาะสมแก่การเป็นทหารหรือตำรวจ ไม่เป็นโรคตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการรับ ราชการทหาร กฎกระทรวงออกตามความในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ ตามที่กองบัญชาการกองทัพไทยกำหนดรายละเอียดไว้ในผนวกท้ายระเบียบ

    * เป็นชายโสด ไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียทางเพศ หรือติดต่อได้เสียกับหญิงถึงขั้นที่จะถือว่าเป็นภรรยา

    * เป็น ผู้มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี มีอุดมการณ์เลื่อมใสในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย   อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และมีผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบ

    * ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย

    * ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

    * ไม่เป็นผู้ที่เคยถูกให้ออกจากโรงเรียนเพราะความผิด หรือถูกถอนทะเบียนจากความเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

    * ไม่เป็นผู้เสพยาเสพติด หรือสิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

    * บิดา มารดา และผู้ปกครอง เป็นผู้มีอาชีพอันชอบธรรมหรือเมีหลักฐาน

    * เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้สมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารแล้ว

    * ต้องมีผู้ปกครองหรือผู้รับรอง ซึ่งสามารถรับรองข้อความ และพันธกรณี ตามที่กองบัญชาการกองทัพไทยกำหนด

    * ต้องไม่มีพันธกรณีผูกพันกับองค์กรของรัฐบาลหรือเอกชน อันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

การสอบภาควิชาการ (คะแนนเต็ม 7๐๐ คะแนน)

                  สอบวิชาคณิตศาสตร์   วิชา วิทยาศาสตร์   วิชาภาษาอังกฤษ   วิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศึกษา ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้

                 ขอบข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบ ฯ สำหรับผู้จบการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้แก่

    * วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม ๒๒๐ คะแนน

    * วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม ๒๒๐ คะแนน

    * วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม ๑๔๐ คะแนน

    * วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม ๑๒๐ คะแนน
         
การสอบรอบสอง

การสอบความถนัด และวิภาววิสัย   

      การสอบพลศึกษา   

      การสอบสัมภาษณ์   

      การตรวจร่างกาย

การสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร   (ข้อมูลอาจมีการปรับปรุง )    

โรงเรียนเตรียมทหาร มิได้เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก และกำหนดจำนวนรับนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในแต่ละปีแล้วส่งมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนเตรียมทหารเป็นเวลา ๓ ปี
เมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของโรงเรียนเตรียมทหารแล้ว จึงจะไปศึกษาต่อในโรงเรียนทหาร – ตำรวจ ตามที่นักเรียนสมัครสอบไว้แต่แรก

ใบสมัคร         

มีจำหน่ายประมาณ กลางเดือน มกราคม ไปจนถึงวันสุดท้ายของการสมัครด้วยตนเองของแต่ละเหล่า

การสมัครสอบ   
          
สมัครทางไปรษณีย์ ประมาณ กลางเดือน มกราคม – ปลายเดือน กุมภาพันธ์       สมัครด้วยตนเอง    ประมาณ กลางเดือน มีนาคม


การสอบคัดเลือก     
      

ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือน เมษายนของทุกปี

สถานที่จำหน่ายใบสมัคร


ใบสมัครและระเบียบการในการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร จะมีสถานที่จำหน่ายแตกต่างกันไปตามเหล่าที่นักเรียนสมัครเข้าศึกษาต่อ ดังนี้

         ๑. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพบก มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก ๒๖๐๐๑

         ๒. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพเรือ มีจำหน่ายที่ โรงเรียนนายเรือ จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐

         ๓. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของกองทัพอากาศ มีจำหน่ายที่ กองสถิติและวิจัย โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ และตามกองบินต่าง ๆ ทั่วประเทศ

         ๔. ใบสมัครของนักเรียนเตรียมทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีจำหน่ายที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐

หลักฐานที่จะต้องยืนในวันสมัคร


         ๑. รูปถ่ายหน้าตรง ครึ่งตัว ไม่สวมหมวกหรือแว่นตา (เหมือนกับทุกรูป) และต้องเป็นรูปที่ถ่ายไว้ไม่เกิน ๓ เดือน

         ๒. สำเนาสูติบัตร

         ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)

ข้อ    ๓. ใบรับรองผลการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (รบ. ๕ – ป) หรือใบรับรองการศึกษาตามอย่างที่แนบ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔)เปลี่ยนเป็น     ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) หรือใบรับรองผลการเรียน (ม.๓ หรือสูงกว่า)

         ๔. ใบสำคัญทหารกองเกินหรือใบแทน

         ๕. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้สมัคร และของบิดามารดาผู้ให้กำเนิดซึ่งคัดไว้ไม่เกิน ๓ เดือน หากผู้สมัครมีบิดา และมารดาที่มีนามสกุลไม่ตรงกัน ต้องนำหลักฐานมาแสดงประกอบด้วย

         ๖. ในกรณีที่บิดาหรือมารดาถึงแก่กรรม ให้นำหลักฐานใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองจากนายทะเบียน เพื่อแสดงสัญชาติของบิดาหรือมารดา

         ๗. หลักฐานแสดงว่าสำเร็จหลักสูตรการฝึกวิชาทหาร (ชั้นปีที่ ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕) ของกรมการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม (ถ้ามี)

         ๘. หลักฐานแสดงว่าเป็นบุตรนายทหาร นายตำรวจสัญญาบัตรประจำการ หรือนกประจำการหรือเป็นบุตรนายทหารประทวน หรือตำรวจต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตรประจำการ (ถ้ามี)

         ๙. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ระหว่างที่มีการรบหรือสงคราม หรือมีการปราบปรามการจลาจล หรือในระหว่างที่มีพระบรมราชโองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีสิทธิได้นับวัน
ราชการทวีคูณ (ในกรณีนับวันทวีคูณเฉพาะกรณีปราบจลาจล พ.ศ. ๒๔๙๘) (ถ้ามี)

         ๑๐. หลักฐานแสดงว่าผู้สมัครเป็นบุตรทหาร ข้าราชการ คนงาน ที่ต้องประสบอันตราย ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำตามหน้าที่จนถึงทุพพลภาพ หรือบาดเจ็บถึงตายเพราะเหตุนั้น ซึ่งได้รับบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเหรียญกล้าหาญ (ถ้ามี)

หมายเหตุ

         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาดใดก็ได้ จำนวน ๑ รูป สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)

         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ (สมัครทางไปรษณีย์ จะใช้รูปถ่ายขนาด ๑.๕ x ๒ นิ้ว จำนวน ๗ รูป สำหรับผู้สมัครด้วยตนเองจะถ่ายรูปตอนไปสมัคร)

         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๔ รูป

         ***นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ใช้รูปถ่ายขนาด ๑ x ๑.๕ นิ้ว จำนวน ๘ รูป

         *** เอกสารทุกอย่างหากผู้สมัครถ่ายเอกสารมาเอง ต้องนำต้นฉบับจริงมาให้กรรมการตรวจสอบด้วย การเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้ผู้สมัครดำเนินการตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในระเบียบการซึ่งจะจำหน่ายคู่ กับใบสมัคร

การเตรียมตัวของผู้สมัคร

         ๑. ผู้สมัครต้องอ่านระเบียบการทั่วไป และวิธีสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ตลอดจนคำชี้แจงต่าง ๆ ให้เข้าใจ ชัดเจน โดยตลอด

         ๒. เตรียมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการสมัคร ตรวจดูให้มีความถูกต้องครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และความสะดวกรวดเร็วในการสมัครของผู้สมัครเอง

         ๓. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่างกาย ต้องมีขนาดพิกัดและไม่เป็นโรค หรือความพิการอื่นที่ขัดต่อการสมัครเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร

         ๔. จดจำกำหนดเวลา และสถานที่ของการรับสมัครที่จะประกาศให้ทราบก่อนการรับสมัคร

         ๕. การแต่งกายในการไปสมัครรวมทั้งการที่จะเข้าสอบ ตลอดจนการไปติดต่อต่าง ๆ ต้องให้สุภาพเรียบร้อย

         ๖. ในวันสมัครจะต้องไปสมัครด้วนตนเองยังไม่จำเป็นต้องนำผู้ปกครอง หรือผู้รับรองไปด้วย

สถานที่ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม


         ขอให้ผู้ที่สนใจติดต่อขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงจากสถาบัน และหน่วยงานที่เป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก

โดยผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ติดต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อ.เมือง จ.นครนายก ๒๖๐๐๐ โทร. ๐๒-๒๔๑-๒๖๙๑ – ๔ , (๐๓๗) ๓๑๓-๕๙๕ หรือ (๐๓๗) ๓๑๒๐๑๐ – ๔ ต่อ ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๐, ๖๒๑๓๔, ๖๒๑๓๗

         ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ๑๐๒๗๐ โทร. ๐๒-๓๙๔๐๔๔๑ – ๔ , ๐๒-๓๙๔๒๕๓๑ – ๔ , ๐๒-๔๗๕-๓๙๒๓, ๐๒๔๗๕ - ๓๘๕๒

ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพอากาศ ติดต่อที่ โรงเรียนนายเรืออากาศ ดอนเมือง กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

ผู้สมัครสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ติดต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๑๑๐ โทร. ๐๒-๕๓๔-๓๖๒๔ – ๗

 และอาจสอบถามรายละเอียดได้จาก   แผนกสารนิเทศ โรงเรียนเตรียมทหาร ๑๘๕ หมู่ ๕ ตำบลศรีกะอาง อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ๒๖๑๑๐ โทร. (๐๓๗) ๓๐๖๐๒๕ – ๔๔ ต่อ ๕๑๙๐ – ๓, ๕๗๒๕๑๙๐ – ๓

การสอบคัดเลือกเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร

การสอบคัดเลือกกระทำเป็นสองรอบ ดังนี้


๑ การสอบรอบแรก เป็นการสอบภาควิชาการ วิชาที่สอบได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยและสังคมศึกษาตามหลักสูตรไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ (ม. ๓) ของกระทรวงศึกษาธิการ มีรายละเอียดดังนี้

๑.๑ วิชาคณิตศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๒๕๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น

๑.๒ วิชาวิทยาศาสตร์ (คะแนนเต็ม ๒๕๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น

๑.๓ วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น

๑.๔ วิชาภาษาไทยและสังคมศึกษา (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) เนื้อหาวิชาครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมตอนต้น

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จะคัดเลือกผู้ที่สอบภาควิชาการผ่าน โดยคัดเลือกจากผู้ที่ได้คะแนนภาควิชาการรวมสูงสุดมาตามลำดับไว้จำนวนหนึ่ง แล้วประกาศรายชื่อเพื่อให้เข้าสอบรอบสองต่อไป

๒ การสอบรอบสอง เป็นการตรวจร่างกาย ตรวจสอบประวัติ ทดสอบบุคลิกภาพ สอบพลศึกษา สอบสัมภาษณ์ และวัดขนาดร่างกาย มีรายละเอียดดังนี้

๒.๑ การตรวจร่างกายและตรวจสอบประวัติ

ผู้สมัครจะต้องเข้ารับการตรวจร่างกาย ตามสถานที่ วัน เวลา ที่จะประกาศให้ทราบ ผู้ไม่ไปรับการตรวจร่างกายถือว่าสละสิทธิผลการตรวจร่างกาย ถือความเห็นของคณะกรรมการคัดเลือกเป็นเด็ดขาด จะไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้สมัครได้รับการตรวจ หรือได้รับใบรับรองผลการตรวจโรคจากที่อื่นมาแสดง     นอกจากการตรวจร่างกายแล้วจะมีการฉาย X – RAY ตรวจโลหิต ตรวจปัสสาวะและอื่น ๆ ผู้สมัครจะต้องชำระค่าตรวจร่างกายตามที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด ในกรณีที่แพทย์ต้องการตรวจพิเศษ นอกเหนือจากการตรวจธรรมดาผู้รับการตรวจจะต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

สำหรับเหล่าตำรวจ ในวันตรวจร่างกายจะทำการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้สมัคร เพื่อตรวจสอบประวัติไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และยังต้องตรวจสอบไปยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่อีกทาง หนึ่งด้วย หากผู้ใดมีประวัติเคยถูกลงโทษหรือความประพฤติไม่ดีตามที่กำหนดไว้ในเรื่อง ของคุณสมบัติ จะถูกตัดสิทธิไม่ให้เป็นผู้สอบคัดเลือกได้

คำเตือน

(๑) ในตอนเช้าวันตรวจร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารหวานจัด เพราะอาจทำให้ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ

(๒) ก่อนตรวจร่างกาย ห้ามรับประทานยาแก้ไอทุกชนิด หรือยากระตุ้นกำลัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความผิดปกติทางหัวใจ และหลอดเลือดได้

(๓) ห้ามผู้สมัครใส่ CONTACT - LENS ไปตรวจสายตา

๒.๒ การทดสอบบุคลิกภาพ ไม่มีคะแนนถือเกณฑ์ ได้ – ตก โดยใช้แบบทดสอบที่คณะอนุกรรมการกำหนด

๒.๓ การสอบพลศึกษา    เป็นการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย   มีคะแนนเต็ม (แต่ละเหล่าไม่เท่ากัน) คะแนนที่ได้จะให้ลดหลั่นกันลงตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทดสอบในแต่ละประเภทที่ผู้สอบปฏิบัติได้สำเร็จหรือ จำนวนครั้งที่ปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ได้คะแนนรวมจาการทดสอบทุกประเภทต่ำกว่าที่แต่ละเหล่ากำหนด หรือสอบว่ายน้ำ ๕๐ เมตร หรือวิ่ง๑,๐๐๐ เมตร ไม่ถึงหรือทำเวลาไม่ได้ตามที่กำหนดถือว่าสอบตกให้คัดออก (คะแนนผลการสอบพลศึกษาจะไม่นำไปรวมกับคะแนนการสอบข้อเขียน   ยกเว้น เหล่าทหารบก ที่จะคิดคะแนนรอบสองเป็น 10% ของคะแนนทั้งหมด)

ผู้เข้าสอบจะต้องทำการสอบให้ครบทุกประเภท ถ้าขาดสอบประเภทใดประเภทหนึ่ง ถือว่าสอบตกและจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร โดยไม่คำนึงถึงคะแนนการสอบข้อเขียน

ประเภทที่สอบและเกณฑ์การให้คะแนนมีดังนี้

(๑) ดึงข้อราวเดี่ยว

ท่าเตรียม ให้ผู้ทดสอบจับราวเดี่ยวแบบมือคว่ำกำรอบ ปล่อยตัวให้ตรงจนแขน ลำตัว และขาเหยียดตรง

ท่าปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบทำท่าต่อจากท่าเตรียม โดยงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว แล้วปล่อยตัวลงสู่ท่าเตรียม กระทำติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งที่มากที่สุด ห้ามแกว่งหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที หรือไม่สามารถดึงขึ้นพ้นราวได้ ๒ ครั้งติดต่อกัน หรือดึงขึ้นไม่พ้น ให้หยุดทำการทดสอบ
ถ้าทำได้ ๒๐ ครั้งจะได้คะแนนเต็ม

ถ้าทำได้ ๗ ครั้งจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๒) ลุกนั่ง ๓๐ วินาที

ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนหงาย เข่าทั้งสองงอเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ฝ่ามือทั้งสองประสานกันที่ท้ายทอย ผู้ช่วยคุกเข่าบนปลายเท้าของผู้ทดสอบโดยเอามือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้ทดสอบ ไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่ม ให้ผู้ทดสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขน ทั้งสองแตะกับเข่าแล้วกลับลงนอนสู่ท่าเตรียมจนศอกแตะกับพื้น ทำเช่นนี้ติดต่อกันให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุดภายใน ๓๐ วินาที ในขณะปฏิบัตินิ้วมือประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอนตัวไปมา
ถ้าทำได้ ๒๕ ครั้งจะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ ๑๙ครั้ง จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๓) ยึดพื้นหรือดันข้อ

ท่าเตรียม ผู้ทดสอบนอนคว่ำมือยันพื้น แขนทั้งสองเหยียดตรงห่างกันพอประมาณ ลำตัวเหยียดตรงปลายเท้าจรดพื้นเงยศีรษะขึ้น

ท่าปฏิบัติ ผู้ทดสอบทำต่อจากท่าเตรียม โดยยุบแขนทั้งสองข้างลงพร้อมกันให้บริเวณหน้าอกแตะพื้น แล้วดันลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเตรียม ทำเช่นนี้ให้ได้จำนวนครั้งมากที่สุด ห้ามทำตัวแอ่น หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือแขนทั้งสองข้างขึ้นไม่พร้อมกัน หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที หรือไม่สามารถดันขึ้นสู่ท่าเตรียมเกินกว่า ๓ - ๔ วินาที ให้หยุดการทดสอบ

ถ้าทำได้ ๕๔ ครั้งจะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำได้ ๒๗ ครั้งจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๔) วิ่งระยะสั้น (๕๐ เมตร)

ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่มในสู่วิ่งของตนเองพร้อมจะปฏิบัติ

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งอย่างเร็วออกจากเส้นเริ่มจนผ่านเส้นชัย

ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน ๕.๕ วินาทีจะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ ๗ วินาทีจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๕) วิ่งระยะไกล (๑,๐๐๐ เมตร)

ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม เตรียมตัวปฏิบัติ

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบเริ่มวิ่งจากเส้นเริ่มไปตามทางวิ่งจนสิ้นสุดระยะทางโดยผ่านเส้นชัย

ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน๓.๑๘   วินาที  จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้๔.๓๒ วินาทีจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

ผู้ที่สอบวิ่งระยะไกลทำเวลาเกินกว่า ๕ นาที ๒๒ วินาที   หรือวิ่งไม่ถึง จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๖) ยืนกระโดดไกล

ท่าเตรียม ผู้สอบยืนบนพื้นที่เรียบหลังเส้นกระโดด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้น หันหน้าไปทางทิศทางที่จะกระโดด

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้เริ่มปฏิบัติ ให้ผู้ทดสอบกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ระยะไกลที่สุด (โดยใช้การแกว่งแขนช่วย) วัดระยะทางการกระโดดจากเส้นกระโดดไปยังจุดที่ส้นเท้าลงบนพื้นไกลเส้นเริ่ม ต้นมากที่สุด

ถ้ากระโดดได้ไกล  ๒.๕     เมตร จะได้คะแนนเต็ม
ถ้ากระโดยได้ไกล  ๒.๒๕ เมตร จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

(๗) ว่ายน้ำ ๕๐ เมตร

ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนที่ขอบสระพร้อมจะปฏิบัติ

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณ ให้ผู้ทดสอบพุ่งตัวลงสระว่ายน้ำแล้วว่ายโดยเร็ว จนถึงขอบสระที่เป็นเส้นชัย การเข้าเส้นชัย ถือเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายแตะขอบสระที่เป็นเส้นชัย

ถ้าทำเวลาได้ไม่เกิน๔๐  วินาที  จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ ๕๔ วินาทีจะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

ผู้ที่สอบว่ายน้ำทำเวลาเกินกว่า ๑ นาที ๒๐ วินาที หรือว่ายน้ำไม่ถึงเส้นชัย จะไม่รวมคะแนนการสอบพลศึกษาทุกประเภท และถือว่าสอบพลศึกษาตก

(๘) วิ่งกลับตัว (วิ่งเก็บของ)ท่าเตรียม ผู้ทดสอบยืนอยู่หลังเส้นเริ่ม พร้อมจะปฏิบัติ

ท่าปฏิบัติ เมื่อได้ยินสัญญาณให้ผู้ทดสอบวิ่งอย่างเร็วจากเส้นเริ่มไปหยิบท่อนไม้ ท่อนที่ ๑ ซึ่งวางอยู่ภายในวงกลมรัศมี ๑ ฟุต กลับมาวางภายในวงกลมหลังเส้นเริ่ม (ห้ามโยนท่อนไม้ ถ้าวางไม่เข้าวงกลมต้องเริ่มต้นใหม่) แล้วกลับตัววิ่งไปหยิบท่อนไม้ท่อนที่ ๒ แล้ววิ่งกลับผ่านเส้นเริ่มต้นไปโดยไม่ต้องวางไม้ท่อนที่ ๒ ลง

ถ้าทำเวลาได้ภายใน ๙.๕ วินาที จะได้คะแนนเต็ม
ถ้าทำเวลาได้ภายใน ๑๑ วินาที จะได้คะแนนครึ่งหนึ่ง

๒.๔ การวัดขนาดร่างกายและสอบสัมภาษณ์ เป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไวและปฏิภาณไหวพริบ ตลอดจนคุณลักษณะอื่น ๆ ที่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร

ผลการสอบถือเกณฑ์ “ได้” หรือ “ตก” เท่านั้นไม่ มีคะแนน ผู้ที่สอบตกหมายถึง ผู้ที่มีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการทหาร-ตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร   และจะตัดสิทธิไม่รับเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารโดยไม่คำนึงถึงคะแนนสอบข้อ เขียน

ในวันสอบสัมภาษณ์จะทำการวัดขนาดร่างกายของผู้สมัครด้วย  หากผู้สมัครมีร่างกายไม่ได้ขนาดตามที่กำหนดไว้ จะหมดสิทธิสอบสัมภาษณ์ทันที

การเตรียมตัวสอบ

 ๑ การสอบข้อเขียน

๑.๑ จะต้องจดจำรหัสประจำตัวสอบ แผนผังที่นั่งสอบ และควรไปดูสถานที่สอบไว้ล่วงหน้า

๑.๒ ผู้เข้าสอบจะต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และต้องไปให้ตรงตามเวลาที่นัดหมาย เพื่อรอเรียกเข้าห้องสอบ หากเรียกเข้าห้องสอบและลงมือสอบไปแล้ว ผู้ใดที่ไปไม่ทันเวลาเริ่มลงมือสอบจะไม่ให้เข้าห้องสอบอย่างเด็ดขาด จะอ้างเหตุความจำเป็นใด ๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น

๑.๓ ปัญหาข้อสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ และตรวจข้อสอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้สมัครจะต้องเตรียมปากกาหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน ดินสอดำชนิดอ่อนเบอร์ 2B    ยางลบดินสอและอุปกรณ์สำหรับเหลาดินสอ เพื่อใช้ในการสอบ

๑.๔ นำบัตรประจำตัวสอบ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้ที่ติด รูปถ่ายของผู้สมัคร เช่น บัตรประจำตัวนักเรียนหรือบัตรประจำตัวนักศึกษา หรือใบขับขี่ เป็นต้น ไปแสดงควบคู่กันเพื่อเข้าสอบ และกรณีทำบัตรประจำตัวสอบหายจะต้องนำใบคำร้องแจ้งหายหรือสำเนาประจำวันของ สถานีตำรวจที่ผู้สมัครแจ้งหายไปแสดงยังกองอำนวยการคุมสอบก่อนเวลาสอบไม่น้อย กว่า ๒ ชั่วโมง เพื่อขอออกบัตรแทน (ต้องนำมาแสดงทุกขั้นตอนของการสอบ).

รวบรวมข้อมูลจากโรงเรียนเตรียมทหาร