นโยบายการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2556 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ได้เร่งให้สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สนผ.) จัดประชุมเพื่อรับฟังคิดเห็นในร่างแนวทางและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับนัก เรียนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเร็ว เนื่องจากหลักเกณฑ์การรับนักเรียนดังกล่าวจะต้องแล้วเสร็จและน่าจะลงนาม ประกาศอย่างช้าในเดือนตุลาคม
การปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์การรับนักเรียนในปีหน้านี้
สพฐ.ได้กำหนดแนวทางไว้แล้ว
โดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากนโยบายรับนักเรียนในปีการศึกษา 2555 มากนัก
แต่ได้ปรับเพื่ออุดช่องว่างหรือจุดอ่อนที่เกิดขึ้นและให้สอดคล้องกับแนวโย
บายของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่อาจจะปรับเปลี่ยนในเชิงนโยบายจากเดิมที่
กำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องสอดคล้องกับการพัฒนาและความต้องการกำลังคนของ
ประเทศเป็นหลัก
และต้องกำหนดสัดส่วนนักเรียนในสายสามัญและสายอาชีพที่แน่นอนและเป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้เพื่อให้คนเรียนสายอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
แต่ขณะนี้นโยบายได้เปลี่ยนแปลงไม่ได้เน้นการเตรียมกำลังคนให้สอดคล้องกับ
สัดส่วนเป้าหมาย แต่จะเน้นความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ไม่ได้เน้นว่าเด็กจะต้องไปเรียนสายอาชีวศึกษาให้ได้ 60% ภายในปีพ.ศ.2563
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า การรับนักเรียนในปีการศึกษา 2556
จะเน้นความต้องการของนักเรียนเป็นหลักโดยเฉพาะในการเรียนต่อระดับชั้นม.4
จะไม่จำกัดจำนวนที่นั่งมากจนเกินไปและจะเปิดโอกาสให้นักเรียนชั้นม.3
ในโรงเรียนเดิมได้เรียนต่อชั้นม. 4
เพิ่มมากขึ้นหากเด็กมีศักยภาพสามารถจะเรียนได้
โดยสพฐ.อาจจะต้องให้โรงเรียนอัตราการแข่งขันสูงเพิ่มห้องเรียนในระดับชั้น
ม.4 หรืออาจจะต้องหาวิธีการอื่นรองรับกรณีที่จะต้องรับนักเรียนเพิ่มมากขึ้น
ส่วนคะแนนโอเน็ตที่ได้ใช้เป็นองค์ประกอบการรับนักเรียนในปีนี้ 20%
ก็คงจะยังใช้ต่อในปีการศึกษา2556
แต่คิดว่าจะไม่เพิ่มสัดส่วนการใช้โอเน็ตเพราะจะต้องให้นักเรียนได้ปรับตัว
ก่อน
ซึ่งการใช้โอเน็ต20%ครั้งนี้น่าพอใจเพราะทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจเรียนมาก
ขึ้น และจะทำให้โอเน็ตสะท้อนคุณภาพการศึกษาได้มากขึ้น
"แม้จะรับนักเรียน ชั้นม.3 ในโรงเรียนเดิมเรียนต่อชั้นม.4
ให้เพิ่มมากขึ้น แต่สพฐ.ยังคงจำนวนนักเรียนต่อห้องเหมือนเดิมคือไม่เกิน 50
คนต่อห้อง ส่วนสาเหตุที่สพฐ.จะต้องปรับหลักเกณฑ์การรับนักเรียนชั้นม.4
ใหม่ไม่ใช่เพราะกรณีปัญหาการรับนักเรียนของโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์
สิงหเสนี)แต่เรื่องนี้ได้เกิดปัญหามาหลายปีก่อนหน้านี้
และสพฐ.ก็รับทราบว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนทั่วไป
เนื่องจากความต้องการของนักเรียนชั้นม.3 ที่ต้องการเรียนต่อม.4
ในเรื่องเรียนเดิมมีมาก
แต่ก่อนหน้านี้ได้มีนโยบายที่จะต้องส่งเสริมการเรียนต่อสายอาชีวศึกษาจึง
ต้องมีการคัดเด็กที่จะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เพิ่มมากขึ้น
ส่วนการรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1ยังคงใช้แนวทางเดิมไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร
โดยทั้งหมดนี้เมื่อรับฟังความเห็นเสร็จแล้วจะต้องเสนอให้รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)พิจารณาเห็นชอบต่อไป" ดร.ชินภัทร กล่าว
Credit เดลินิวส์