ประเทศไทย วิศวกรล้นตลาดแล้วจริงหรือ !!???


ไปเจอบทความดีดีเกี่ยวกับ อาชีพวิศวกร เรียกได้ว่า เป็นอะไรที่ดราม่ามาก  รับรองได้ความรู้จากผู้ที่ประกอบชีพนี้จริงๆ  ( ขนาดผมเองยังอ่านเกือบครึ่งชั่วโมง บทความยาวมากๆ )


ทำไมไทยเราถึงผลิต"วิศวกร" ออกมามากมาย จนล้นตลาดล่ะคะ?? แล้วเริ่มล้นตั้งแต่ช่วงปีไหน??
เราเองจบวิศวะ ม.รัฐบาล เมื่อ 17 ปีก่อน...แน่นอน แทบไม่ได้ทำงานวิศวะเลยค่ะ
เราทำงานวิศวกรขาย, งานวิเคราะห์ธุรกิจ, งานบริหารการเงิน (เพราะเรียนต่อ MBA) , รับช่วงกิจการที่บ้าน
เราเห็นเพื่อนๆเรา ความเจริญก้าวหน้าต่างกันมากเลยทีเดียว
พวกเรารุ่นอายุ 40ปี...มีอาชีพ /เส้นทางต่างกันมาก ยังเป็นสายงานวิศวะ ราว60% เดาว่ารายได้ในฐานะมืออาชีพ ราว 60,000-250,000บาท ไม่รวมกลุ่มที่ทำกิจการส่วนตัว หรือแม่บ้าน หรือขายประกัน/ขายตรง
ในความรู้สึกตัวเอง...มองไปทางไหน ก็มีแต่วิศวะ จบวิศวะ รู้สึกว่า ล้นตลาดมากมาย
ทำไมภาครัฐ/ภาคการศึกษา ต้องผลิตวิศวกร ออกมาเกลื่อนตลาด จนตกงาน เหลวเละเทะขนาดนี้.....ทั้งที่เมื่อ 17ปีก่อนนั้น คะแนนเอ็นทรานส์วิศวะ ก็พอๆกับหมอเลยทีเดียว และมีเกียรติมาก (ตอนนี้ต๊อกต๋อยเกลือน)
มันเกิดความผิดพลาดในการวางแผนประเทศ หรืออย่างไร ???
ช่วงที่ไทยคิดจะเป็น NICS เสือตัวที่ห้า ในยุคนายกชาติชายหรือ ??? จึงออกนโยบายให้ผลิตวิศวกรเยอะๆ
ทั้งๆที่ตลาดจริง ต้องการคนพันธุ์ R (อาชีวะ) ที่เรียนต่อวิศวะ...เพื่อให้ได้ทั้งบุ๋นและบู้ ปฎิบัติจริงได้...ใช่ไหมคะ???
อีกไม่กี่ปีข้างหน้า AEC ประชาคมอาเซี่ยน ก็ทำให้วิศวกรเวียดนามที่ถูกกว่า และภาษาอังกฤษดีกว่า...ไหลไปมาในภูมิภาคได้ ???
by บ้านดอกชวนชมสารพัดสี

อาชีวะ โดนกดหัวแบบนี้ใครจะอยากเรียนครับ
มีแค่ช่วงนึงที่ อาชีวะ กลับมาบูม คือสมัย 2545-2547,48
ที่มีการซื้อตัวกันเลยทีเดียว มีความต้องการมาก
จนมีหลายๆคนเลือกเรียนอาชีวะ เพราะคิดว่า
ทำงานก่อน ก็ได้ แล้วต่อไปอยากเรียนต่อค่อยเรียนก็ได้
แต่พอปี 2548 เป็นต้นมา อยุู่ๆก็เจอปัญหานั่นนี่โน่น
มีการกดหัว ไม่ให้แม้แต่สิทธิในการสอบ เข้ามหาลัยเลยครับ
ไปสมัครที่ไหนก็ บอกว่า รับแต่ ม.6
ขนาดเครือพระจอม เอง ยังเหลือแค่ พระนครเหนือ ที่รับ
และอีกตัวเลือกก็คือ ราชมงคล...
ตอนนี้ เรียนอาชีวะ ปวส. ไปต่อ ป.ตรีก็ต้องเรียน 4ปีเต็ม
แล้วใครจะอยากเรียน....
by  คุณปีศาจตาเดียว

จริงๆ แล้ว ผมว่า "วิศวะกรรม" หลายสายยังขาดอยู่มากนะครับ แต่ในขณะที่บางสายน่าจะล้นอย่างที่เจ้าของกระทู้ว่า แต่พูดอย่างไรดีหละครับ ในเมื่อวิธีควบคุมง่าย เช่น
"การจำกัดโควตา ที่นั้งเรียน" ของแต่ละเอก ก็ไม่สามารถทำได้
ถ้าเพียงแต่ทางผู้มีอำนาจ สามารถดึงนักวิชาการมาวางแผนโดยคาดการณ์ความต้องการนักศึกษาจบใหม่ ว่าในแต่ละเอกนั้น เมื่อจบมาแล้วจะมีบาลานซ์ที่เหมาะสมกับตลาดที่ขาดแคลนระดับไหน และเมื่อเติมไปแล้วจะเหลือล้นที่สัดส่วนเท่าไร จึงจะเหมาะสม
ถ้าสามารถให้ทางนักวิชาการ วางแผนความต้องการของตลาด ให้ผลิตนักศึกษาในปริมาณที่เหมาะกับความต้องการในระดับนั้นได้ ก็น่าจะช่วยได้ไม่น้อย
แต่ประเทศเรา อาจต้องบอกว่า "นักศึกษา ที่จบทั้งหมดในแต่ละปี" มีปริมาณรวมแล้วล้นจากตลาด ก็อยากบอกว่า มันยากนะครับ ที่จะใช้วิธีการใดๆ มาควบคุมได้
by  HODEมั๊กๆ

ล้นจริงครับ ล้นมากด้วย
แต่ว่าไม่ค่อยโดนใจโรงงานหรือบริษัทเท่าใดนัก
เหตุเพราะอย่างที่ จขกท ว่านั่นแหละ
เป็นข้างเดียว คือบุ๋นอย่างเดียว บู๊ไม่เป็น และอันที่จริงแล้วบุ๋นก็ใช่ว่าจะเก่งจริง
ไม่งั้นพวก ผจก., วิศวกรเก่า, พวกเด็กจบนอก เขาไม่มีคำว่า NATO (No Action Talk Only) มาใช้เรียกเด็กวิศวะจบใหม่คนไทยหรอกครับ
จะไปสวนเขาก็ไม่ได้เพราะเขาคล่องกันมากๆ
มองปุ๊บรู้เลยว่าใช้สายไฟประเภทใหน เรียกรหัสอะไร น็อตเบอร์อะไร หรือจะเปิดแบบวิเคราะห์วงจรก็เป๊ะๆ ใช้อุปกรณ์ใช้คำนวณได้หมดตั้งแต่ สไลด์รูล ยัน โนตบุค
ส่วนของเรา คิดว่าคงให้ความสำคัญกับสายอาชีพน้อยเกินไปทั้งๆที่วิศวกรเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสูง
ส่วนพวกมาจากสายสามัญ (ผมก็ด้วย) ผมว่า หลักสูตรก็ให้ความสำคัญกับวิชาโรงประลองน้อยเกินไปมากๆๆๆ แถมเกรดวิชานี้ไม่ยากอีกด้วย .. และเดี๋ยวนี้ยังมีวิชานี้อยู่มั้ยก็ไม่รู้
เอาว่า ประแจปอนด์ (Torque Wrench) ผมเองมาใช้เป็นตอนเรียนจบแล้ว ... ฮะฮ่า
ผมเคยมีประสบการณ์ใช้เด็กฝึกงาน (ปี 3 วิศวกรรมไฟฟ้านี่แหละ) ไปซ่อมระบบไฟรถมอ'ไซค์ซื้อของของ บ. ใช้เดินสายไฟอะไรใหม่ด้วย
คือจะได้ขี่ไปซื้อข้าวซื้ออะไรมากินกลางวันได้อ่ะครับ (JRD ไฟมันเหลือเกินจริงๆ ยี่ห้อนี้ แนะนำว่าถ้ามันไม่ขายถูกจริงๆ ใครคิดจะซื้อ เลือกยี่ห้ออื่นเถอะครับ)
ตอนบ่ายผมไปดู ปรากฎว่าคุณน้องแกเบิกเครื่องมือมาเต็มไปหมดยังกะจะไปตั้งโรงงานเอง แต่ยังไม่ได้ซ่อมอะไรทั้งนั้น
เพราะดันขันน็อตบนตัวถังกลับทางจนหวานไป 3 ตัว จาก 4 ตัว เลยถอดกาบรถไม่ออก
ผมงี้แทบอยากส่งกลับ แบบ โอ๊ยย ... ทำ 5 ไรของเมิงเนี่ย เรื่องจิ๊บจ๊อยแค่นี้ ยังทำให้ยากซะงั้น
กลายเป็นว่าช่างของผมต้องลำบากมาแก้ให้อีก ทั้งๆที่งานเขาก็ยุ่งด้วย พอด่าก็ทำน้อยอกน้อยใจอีก
ก็ไม่ได้ด่าแรงอะไร เพราะตอนผมฝึกงานก็ไม่ได้ดีกว่านี้สักเท่าไร แต่จะให้บอก โอ๋ๆ ไม่เป็นไรนะคะคุณน้องขา มันก็ไม่ใช่อ่ะ
by  West ponente 

รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดีและคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 2009
-------------------------------------------------------
วิศวกรรมยุคใหม่...เรียนอย่างไรไม่ตกงาน
-------------------------------------------------------
ปัจจุบัน “วิศวกร” ยังเป็นอาชีพท็อปฮิตของเด็กทุกยุคสมัย เพราะเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ถูกมองว่าทาเงินได้เป็นจานวนมาก มีตลาดงานรองรับ และเกือบทุกสถาบันมีการเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์อย่างแพร่หลาย เพราะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แม้ในความเป็นจริงตอนนี้ภาพรวมของตลาดก่อสร้าง ซึ่งเกี่ยวข้องแวดวงวิศวกรรมจะชะลอตัวไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นสาขาวิชาที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากทุกสถาบันจะมีนักเรียนแย่งกันสอบเข้าเป็นจานวนมากทุกปี ในขณะเดียวกันการเปิดสาขาวิชาที่มีความทันสมัยรองรับการขยายตัว และการแข่งขันกับตลาดโลก โดยเฉพาะการเปิดเขตการค้าเสรี หรือ FTA ในอนาคต ดังนั้น การสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการเติบโตในวิชาชีพนี้จึงเป็นหน้าที่สาคัญของ สถาบันการศึกษา
ในขณะเดียวเมื่อหันมามองในมุมของการเรียนอะไร จบแล้วได้งานทา พบว่า จากผลสารวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ ที่มีต่อสาขาวิชาที่เรียนแล้วจะได้งานทาของสวนดุสิตโพล โดยสารวจจากผู้ประกอบการผู้ใช้บัณฑิตที่กระจายตามสาขาวิชาต่างๆนักวิชาการ ที่มีความสาคัญในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ, กลุ่มนายธนาคารซึ่งมีผลต่อการให้กู้ยืมเงิน, นักปฏิบัติการ ผู้บริหารระดับกลาง ฝ่ายบัญชี หัวหน้าฝ่ายพัสดุการคลังนโยบาย ฯลฯ รวม 1,376 ตัวอย่าง ผลการสารวจ 10 อันดับสาขาที่หางานง่าย ได้แก่
อันดับที่ 1 การบัญชี 19.71% อันดับที่ 2 แพทยศาสตร์ 18.75%
อันดับที่ 3 บริหารธุรกิจ 12.02% อันดับที่ 4 คอมพิวเตอร์ 10.10%
อันดับที่ 5 วิศวกรรมศาสตร์ 10.10% อันดับที่ 6 การตลาด 8.65%
อันดับที่ 7 นิติศาสตร์ 8.17% อันดับที่ 8 พยาบาลศาสตร์ 4.81%
อันดับที่ 9 การจัดการ 4.33% อันดับที่ 10 รัฐศาสตร์ 3.36%
และจากผลสารวจข้างต้น กับอีกประเด็นที่ว่า วิศวกรล้นตลาด นั้น รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดีและคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร แสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว ว่า ประเทศที่กาลังพัฒนาจาเป็นต้องใช้วิศวกร
แต่จุดที่น่าสนใจคือ ลักษณะงานกาลังพลิกโฉมหน้าไปบ้างจากเดิม ๆ อย่างนักศึกษาในปัจจุบัน บางทีอาจจะต้องมองไปถึงงานในอนาคต เพราะกว่าตัวเองจะจบได้ปริญญาก็ต้องใช้เวลาอีก 3-5 ปี เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลานั้นงานอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะไม่เหมือนกับบริษัทหรือผู้ประกอบการมักจะมองออกว่างานจะเป็นไปแบบไหน

-------------------------------------------------------
เลือกเรียนแบบคนรู้จริง เรียนจบไม่มีตกงาน
-------------------------------------------------------
การเรียนคณะวิศวกรรมทุกสาขานั้นพอจบไปแล้วจะตกงานหรือไม่...ในฐานะคณบดีคณะ วิศวกรรมศาสตร์ กล่าวต่ออีกว่า การเรียนแต่ละสาขาก็มีสิทธิ์ที่จะตกงานเช่นเดียวกันหากผู้เรียนเรียนเพียง เพื่อให้จบไปเท่านั้น ประการสาคัญอยู่ที่ตัวผู้เรียนเอง คือ ถ้าเวลาเรียนแล้วเราเรียนแบบรู้จริง ตั้งใจจริง เรียนตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยกาหนดนั้น ก็จะสามารถเรียนจบและทางานได้จริง
ส่วนประกอบย่อย เช่น การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี การดาเนินชีวิตในสังคม ก็เป็นส่วนที่ทาให้ได้งานดี ๆ
ในปัจจุบันสังคมไทยให้ความสนใจต่อกระแสเรื่องของจริยธรรมมาก ฉะนั้นในเรื่องของการประกอบวิชาชีพ เราต้องสร้างวิศวกรที่มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบสูงด้วย อย่าลืมว่าวิศวกรเป็นอีกอาชีพหลักอาชีพหนึ่งที่มีส่วนสาคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นอย่างมาก

-------------------------------------------------------
โต้ความคิดเห็น “วิศวกรล้มงาน ตึกถล่ม”
-------------------------------------------------------
รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดีและคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีคุณภาพของวิศวกรไทยไร้คุณภาพ...? ว่า ปัจจุบันการผลิตบัณฑิตวิศวะมีจานวนมากขึ้น เพราะมีการเปิดสอนกันมากขึ้น จึงเกรงกันว่า ปัญหาด้านคุณภาพจะตามมา หากไม่มีการควบคุมคุณภาพการศึกษา เพราะวิศวะสามารถสร้างชาติและทาลายชาติได้...สาหรับเหตุการณ์ตึกถล่มที่เกิด ขึ้นนั้นมองได้ทั้งมุมบวกและมุมลบ อาชีพวิศวกรมีความสาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยยังผลิตวิศวกรได้ไม่เพียงพอที่จะพัฒนาประเทศแบบก้าวไปข้างหน้า หรือ ถ้ามองกันจริงๆ แล้วประเทศไทยมักจะผูกพันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นาเข้าจากต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งก็จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในการทาการค้า ใครก็ต้องการลดต้นทุนกันทั้งนั้น อย่างของประเทศจีนที่มีราคาถูกช่วยลดต้นทุนได้มาก แต่ถ้ามองถึงอนาคตของชาติในระยะยาว ถ้าเราไม่มีการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ตรงนี้ เราก็พัฒนาประเทศไม่ได้ ต้องพึ่งพาชาติอื่นอยู่ร่าไป...
ประเทศที่พัฒนาต้องมีองค์ความรู้และต้องมีวิศวกรคุณภาพ...ย้อนกลับมามองว่า เนื่องจากแผนการพัฒนาประเทศไม่เป็นไปในลักษณะของการสร้างชาติอย่างยั่งยืน จริง ๆ ทาให้การผลิตบัณฑิตป้อนสู่ตลาดอาจจะมีตกหล่นอยู่บ้าง ซึ่งก็หมายความว่าบางคนหางานไม่ได้ หรือได้งานไม่ตรงกับสาขาที่เรียนมา นั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทาให้บางคนมองว่าวิศวกรล้นตลาด แต่ถ้ามองจริงๆ แล้วมันไม่ใช่มันเกิดจากแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ไม่ชัดเจนและไม่ต่อเนื่อง ต่างหาก
เมื่อหันมามองในส่วนของวิศวกรโยธา กับกรณีปัญหาตึกถล่ม ถ้ามองกันอย่างเป็นธรรม ไม่คิดว่าเกิดจากวิศวกรโยธาโดยตรงอย่างเดียว แต่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของตัวบุคคลหรือองค์กรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การขาดความรับผิดชอบของแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง การเห็นแก่ตัวของผู้ประกอบการ การลดต้นทุนโดยไม่คานึงถึงผลเสีย เป็นต้น เพราะฉะนั้นในเรื่องของกระบวนการอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของ ประชาชน หน่วยงานในส่วนของราชการที่ควบคุมดูแลต้องทางานกันอย่างจริงจัง ความจริงเราก็มีหน่วยงานที่กากับดูแลเป็นอย่างดีแล้ว เช่น สภาวิศวกร ทาหน้าออกกฎเกณฑ์มาควบคุมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหลักสูตรในกระบวนการผลิต วิศวกร จรรยาบรรณของวิศวกร ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) เท่าที่ทราบ วิศวกรสาขาที่เกี่ยวกับความปลอดภัย จะต้องมีการทดสอบความรู้ ทดสอบจริยธรรมและต้องมีการสะสมประสบการณ์พอสมควร จึงจะสามารถไปทางานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้
ในขณะเดียวกัน เมื่อมองอีกมุมจะเห็นว่า วิศวกรอาจมีความสามารถ แต่กระบวนการทางานของบริษัทมุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบลดต้นทุน ด้วยการจ้างโฟร์แมน หรือ จ้างคนงานที่ด้อยคุณภาพ เพราะอย่าลืมว่าในการทางานจริงๆ แล้วสุดท้ายคนที่ลงมือก็คือ คนงาน และถ้าโฟร์แมน หรือวิศวกรไม่ลงมาควบคุมจริงจังก็จะไม่ได้มาตรฐาน เกิดความผิดพลาดและความประมาทขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาก็จะเป็นอย่างที่เป็นข่าว
-------------------------------------------------------
เรียนวิศวกรรมอะไร แล้วไม่ตกงาน ?
-------------------------------------------------------
วิศวกรรมทุกสาขา มีตลาดรองรับ และสามารถทางานได้หมด...รองศาสตราจารย์ ดร. อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดี ให้รายละเอียดไว้ว่า ปัจจุบันตอนนี้วิศวกรไม่ว่าจะสาขาใดจะต้องมีความรู้พื้นฐานหลายด้าน เช่น ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ใครก็ตามที่เข้ามาเรียนวิศวะด้วยความตั้งใจและขยันจนมีความรู้จนถึงขั้น เซียนแล้วล่ะก็ มั่นใจได้เลยว่าไม่ว่าจะเรียนสาขาอะไร ไม่มีทางตกงานแน่นอน แถมยังอาจโดนจองตัวตั้งแต่ก่อนจบเลยก็เป็นได้
-----------------------------------------------------------
ตัวเลขการจ้างงานรวมของ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2558 จะเป็นจำนวน 1.54 ล้านคน
ระดับปริญญาตรี มีความต้องการจ้างผู้จบสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 27,591 คน โดย 80 % ต้องการสาขาอุตสาหการ เครื่องกล ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และแมคคาทรอนิกส์ ขณะที่สาขาอื่นๆ เช่น บัญชี การเงิน กฎหมาย และงานธุรการ ต้องการเพียง 20 %เท่านั้น
------------------------------------------------------------

แรงงานจบใหม่ ล้นตลาดหรือขาดแคลน
ฤดูจบการศึกษาของ นักเรียน นักศึกษา เป็นช่วงเวลาที่ต้องตัดสินใจจะเรียนต่อหรือทำงานในสายงานที่ตนเองถนัด หรือตรงกับที่ได้เรียนมา แต่จะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่อง
ผลสำรวจความต้องการทำงานของกรมการจัดหางาน ในปี 2553 พบว่า ผู้จบการศึกษาที่ตอบ
แบบสำรวจ 370,623 คน ต้องการศึกษาต่อถึง 292,516 คน ส่วนผู้ต้องการทำงานมีเพียง 78,107 คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 31,240 คน หรือ 40 % ส่วนใหญ่จบบริหารธุรกิจและวิทยาการจัดการ รองลงมาเป็นผู้ที่จบม.3 แล้วจะไปทำงาน จำนวน 15,767 คน หรือ 20.19 % ส่วนปวส.และอนุปริญญาที่จะไปทำงานมีจำนวน 14,637 คน หรือ 18.74 % ส่วนใหญ่จบจากด้านพาณิชยกรรม ผู้จบม.6 และต้องการทำงาน มีจำนวน 9,574 คน หรือ 12.26 % แต่น้อยที่สุด คือ ปวช. มีเพียง 6,889 คนหรือ 8.82 % เท่านั้นที่จะทำงานและส่วนใหญ่จะจบด้านพาณิชยกรรม
สวนทางกับตัวเลขความต้องการแรงงานใน 6 อุตสาหกรรมหลัก ของสภาอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ว่า ใน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2554-2558) กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลโลหะการ และเครื่องจักรกลการเกษตรนั้น ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 248,862 คน หรือเพิ่ม 19.26% จากปี 2553 ซึ่งขณะนั้นมี 1.29 ล้านคน
ดังนั้น ตัวเลขการจ้างงานรวมของ 6 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2558 จะเป็นจำนวน 1.54 ล้านคน แบ่งเป็นต้องการจ้างผู้จบม. 3 และ ม.6 จำนวน 131,628 คน หรือ 52.89 % ระดับ ปวช. จำนวน 37,829 คน หรือ 15.20 % ระดับ ปวส. จำนวน 51,813 คน หรือ 20.82 % และปริญญาตรี จำนวน 27,591 คน หรือ 11.09 %ในระดับ ปวช. และ ปวส. สาขาที่ต้องการมากที่สุด คือ ช่างกลโรงงาน จำนวน 49,813 คน คิดเป็น 55.57 % รองลงมาคือ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 17,885 คน คิดเป็น 19.95 % และช่างยนต์ จำนวน 10,356 คน คิดเป็น 11.55 % ระดับปริญญาตรี มีความต้องการจ้างผู้จบสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 27,591 คน โดย 80 % ต้องการสาขาอุตสาหการ เครื่องกล ยานยนต์ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และแมคคาทรอนิกส์ ขณะที่สาขาอื่นๆ เช่น บัญชี การเงิน กฎหมาย และงานธุรการ ต้องการเพียง 20 %เท่านั้น
นอกจากนี้ ส.อ.ท. ร่วมกับมหาวิทยาลัยศรีปทุม สำรวจค่าจ้างอาชีพต่าง ๆ ในปี 2553 พบว่า ค่าจ้างขั้นต้นสำหรับผู้ไม่มีประสบการณ์ระดับ ปวช.เฉลี่ยอยู่ที่ 6,590 บาทต่อเดือน ระดับ ปวส.เฉลี่ย 7,697 บาทต่อเดือน ปริญญาตรีเฉลี่ย 11,518 บาทต่อเดือน ปริญญาโทเฉลี่ย 16,868 บาทต่อเดือน และปริญญาเอกเฉลี่ย 24,961 บาทต่อเดือน โดยสาขาวิศวกรรมมีค่าจ้างสูงสุดเฉลี่ย 15,056 บาทต่อเดือน ขณะที่สาขาคหกรรมได้รับค่าจ้างต่ำสุดเฉลี่ย 10,133 บาทต่อเดือน ส่วนผู้มีประสบการณ์สาขาอาชีพที่มีค่าจ้างสูงสุด คือ กลุ่มผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนมีค่าจ้างประมาณ 141,893 บาทต่อเดือน
จากข้อมูลข้างต้น ทำให้เห็นปัญหา คือ ไทยไม่มีการวางแผนผลิตกำลังคนร่วมกันอย่างเป็นระบบ ทำให้ขาดแคลนสายวิชาชีพซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ขณะที่สายสังคมกลับมีการผลิตออกมาล้นตลาด
ปัญหาสำคัญอีกอย่างคือ ค่านิยมของเด็กไทยจะมุ่งเรียนต่อและเสาะหาใบปริญามากกว่าที่จะหางานทำเพื่อ สร้างทักษะ ส่งผลให้ตลาดงานระดับอาชีวศึกษาที่เป็นตลาดใหญ่ขาดแคลนแรงงาน
ผมขอส่งท้ายด้วยข้อสังเกตุว่า ถ้าตลาดจะยังคงมีแต่ข้อมูลค่าจ้างตามวุฒิอย่างเดียวเช่นนี้ คงกระตุ้นให้คนสนใจเรียนอาชีวะเน้นฝีมือ (Skills) ได้ไม่มากนัก แต่ถ้าให้ค่าจ้างตามทักษะฝีมือไม่ใช่ตามวุฒิ คนเรียนจะฝึกและฝึก มากกว่าสอบและสอบ หรือติวแล้วสอบ ....
ดังนั้น มาช่วยกันสร้างสถาบันทดสอบคุณวุฒิวิชาชีพกันครับ

นายวีระศักดิ์ โค้วสุรัตน์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
14 มีนาคม 2554 15:13 น.

ขอตอบในมุมมองส่วนตัวของผู้บริหารหน่วยงานเอกชนที่มีวิศวกรเป็นบุคลากรหลักว่า
เหตุน่าจะเกิดเพราะโอกาสทางการศึกษาและการเข้มงวดในการผลิตวิศวกร
การศึกษาของไทยเปิดโอกาสให้เรียนจบปริญญาตรีทางวิศวกรรมง่ายกว่าสมัยก่อนมาก นอกจากมหาวิทยาลัยของรัฐที่เก่าแก่และมีชื่อเสียง ซึ่งเข้ายาก เฉพาะผู้ที่เรียนเก่งมากเท่านั้นที่สามารถสอบผ่านเข้าเรียนได้ จึงมีมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ ซึ่งการบริหารจัดการมีลักษณะการประกอบธุรกิจด้วย หากเข้มงวดมาก นักศึกษาที่เรียนไม่เก่งคงไม่จบ หรือจบน้อยลง ดังนี้คงมีผู้สมัครเข้าเรียนน้อย สถานศึกษานั้นก็อยู่ไม่ได้ จึงต้องเข้มงวดน้อยลง เอาเป็นแค่พอใช้ก็จบได้ บัณฑิตจากสถาบันต่างกันจึงมีคุณภาพต่างกันเห็นได้ชัด
นอกจากนั้น การเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบระดับเท็คนิค ไต่มาจาก ปวช ปวส เข้าเรียนต่อจนจบปริญญาทางวิศวกรรม ทั้งที่ขาดความพร้อม อ่อนคำนวณ โดยสถาบันการศึกษาเสริมการเรียนการสอนด้านปฏิบัติมากขึ้น แต่อ่อนทฤษฎีลง เพื่อให้เรียนจบ ก็เป็นปัจจัยเสริมให้มีผู้จบวิศวกรรมมากขึ้น แต่คุณภาพของบัณฑิตทางวิศวกรรมแต่ละกลุ่มมีคุณภาพต่างกันมากขึ้นอีก บางสถาบันที่เน้นด้านครุศาสตร์ บัณฑิตที่จบยังสามารถสอบเป็นภาคีวิศวกรหรือสูงกว่าได้ ได้ ทำให้การประกอบอาชีพทางวิศวกรรมมีช่องทางมากขึ้นอีก
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่จบ ปวช ปวส เท็คนิคหรือครุศาสตร์นั้นไม่เก่ง แต่มันเป็นการเก่งคนละเรื่องกัน
ดังนั้น เมื่อมีผู้จบวิศวกรรมหลายคนมาสมัครงาน หากสัมภาษณ์ความรู้พื้นฐาน อาจตอบได้ไม่ต่างกัน แต่พอทำงานไปไม่นานจะเห็น งานยิ่งยากยิ่งเห็นชัด
วิศวกรสาขาต่าง ๆ ที่พบเห็นจึงมีคุณภาพต่างกัน เกิดการตกต่ำของอาชีพวิศวกร
อย่างไรก็ตาม วิศวกรที่จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงไม่ตกต่ำไปด้วย แต่อาจปรับเปลี่ยนเรียนสายอื่นระดับปริญญาโทหรือเอกในสายอื่น เช่นการเงิน จนได้รับความสำเร็จมากกว่าหน้าที่การงานทางวิศวกรรม เช่น ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยปัจจุบันก็จบวิศวกรรม แต่เก่งขนาดต่อยอดการเรียนสายอื่นจนได้เป็นผู้ว่า ฯ ทั้งที่ตำแหน่งผู้ว่า ฯ น่าจะจบทางเศรษฐศาสตร์ หรือการเงินการคลัง
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในวิชาชีพอื่น ๆ หลายแขนง ที่เห็นชัดได้แก่การบัญชี
ผู้จบปริญญาตรีบัญชีจากสถาบันที่มีชื่อเสียงของรัฐ เทียบกับอีกสถาบันของรัฐที่รู้กันว่าเข้าง่ายจบง่าย ได้ปริญญาตรีเท่ากัน แต่สามารถเรียกเงินเดือนจากผู้ว่าจ้างต่างกันหนึ่งเท่าหรือสองเท่า ยิ่งทำงานก็ยิ่งห่าง เพราะพื้นฐานความรู้ การเข้มงวดในการเรียนการสอนและสอบต่างกันมาก กลุ่มที่หนึ่งทำงานไม่กี่ปีเป็นผู้บริหารไปแล้ว แต่กลุ่มหลังยังเป็นเสมียนเร่งไม่ขึ้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังไม่ชัดในวิชาชีพสายการแพทย์ เภสัชกรรม และอื่น ๆ อีกหลายสาขา แต่ในอนาคต เราอาจได้เห็นความแตกต่างและตกต่ำได้เช่นเดียวกัน
by  กื้อ (กื้อ)

เราทำงานกับวิศวกรเยอะนะ (โยธา เครื่องกล งานระบบ) ต้องยอมรับความจริงนะคะว่า พวกที่มาจากสาย มหาวิทยาลัยรัฐ เก่งจริง ตัวอย่างในองค์กรเรานั่นแหละ อย่าเอาแต่คิดว่า พวกนี้ หยิ่ง แบ่งพวกพ้อง มีเส้นสาย ไม่จริงค่ะ คนปกติธรรมดาสามัญ พ่อแม่เป็นชาวสวนชาวนา แต่จบ มหาิวิทยาลัยท็อป 10 ก็มีค่ะ อย่าเอาแต่ใช้อคติด่าว่าพวกนี้ คุณหนูบ้าง ไม่สู้งานบ้าง มันอยู่ที่ตอนคุณเลือกเขาเข้ามาทำงานเองนี่คะ
บริษัทเราเลือกคนอยู่นะ มีับ้างที่เลือกพลาด (ประมาณ 2 คน) พอจบปี ก็ไม่ต่อสัญญา แค่นั้น จริง ๆ คือ performance ไม่ผ่านค่ะ เปรียบเทียบกับกับ วิศวกรอีก 30 คนในแผนก ทุกคนประเมินได้ค่ะ วิศวกรบริษัทเราก็จากมหาวิทยาลัยรัฐเป็นส่วนใหญ่ แปลก แฮะ เกษตรไม่มีเลย มีจุฬา มช ขอนแก่น สายพระจอมเกล้า และก็มี ม ที่อยู่โคราชอะ จำชื่อไม่ได้ แต่ที่เห็นชัดคือ พวกจบ CU มานี่เก่งจริงนะ (บุ๋น) ซึ่งองค์กร ก็ต้องใช้คนหลายแบบอะ พวก ม ต่างจังหวัด ก็ไปบู๊ กัน (คำนวน พวก structural analysis ไม่เป๊ะ เท่าพวกเด็ก CU อะ) ก็แบ่งหน้าที่กันไปตามความสามารถ ไม่ใช่ว่าจะเอาพวกบุ๋น มาหน้างาน แล้วก็บ่นๆๆๆ ว่าพวกนี้ไม่ทน คุณหนู เก่งแต่ตำรา แหม ก็วางคนให้ถูกสิคะ put the right man to the right job นอกเสียจากว่างานคุณเป็น พวกโครงการเล็ก ๆ ที่ใช้วิศวกรคนเดียว ทำแม่ม ทุกอย่าง 55
ในขณะเดียวกัน พวกสาย ม รัฐต่างจังหวัดและ พระจอมก็ลุยโคตร ๆ (พวก CU ลูกทุ่ง ลุย ๆ ก็มีนะ) แต่ให้เซ็นต์รับรอง เขาก็มิบังอาจจะเอาตัวเองไปรับผิดชอบอะไรขนาดนั้นได้ แต่งานหลาย ๆ ด้านก็ต้องใช้ประสบการณ์ด้วย
เนื่องจากบริษัทเราเป็นองค์กรใหญ่ มันมีระบบเอกสาร คิวซี อะไรมากมายล้านแปดอีก จากประสบการณ์เกือบ 10 ปี วิศวกรที่จบ ม รัฐ ตามที่ยกตัวอย่าง เข้าใจและสามารถเรียบเรียง ทำงานเอกสารให้เสร็จเรียบร้อยได้ รวมทั้งเอกสารภาษาอังกฤษ (ยังดีนะที่องค์กรเราใช้ภาษาอังกฤษ) ในขณะ อีกกลุ่ม (จบ ม เอกชน) จะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ไม่มีความตั้งใจมากพอ ก็เอกสารภาษาอังกฤษเป็นพัน ๆ แผ่นอะ ทำแล้วไปไม่รอด ไม่มีัความตั้งใจจริง ทำไม่เรียบร้อย เจ้านายก็ต้อง assign ให้คนอื่นทำแทน อันนี้เลยแอบคิดไปว่า ที่เขาว่า จ้างคนอื่นทำ thesis ให้นี้มีจริงรึเปล่า ทำไมเป็นคนไม่มีสมาธิเช่นนี้ (เช่นกัน เพื่อนร่วมงานอีกคน จบ ศิลปศาสตร์ เอก อังกฤษ ม เอกชน แต่เขียนรีวิวหนังเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้อะ มาให้ข้าพเจ้าเขียนให้ โอ้้ แม่เจ้า นี่ ม เอกชนบางแห่ง เขาสอนอะไรกันบ้างเนี่ย)
ก็อะนะ ไม่ใช่ว่า ใส่หมวกเซฟตี้ เดินถือแบบ แล้วดูเท่ห์ ใครๆ ก็เรียกว่าวิศวกร มาดูกันที่เนื้องานดีกว่า ถามว่าจะให้ช่างฝีมือ มาทำงานแบบวิศวกร วางแผน ควบคุมทั้งหน้างาน และเอกสาร จนขั้นกระทั่งส่งมอบ ก็อาจไม่ได้เขาก็อาจไม่มีประสบการณ์ คือ เราทำงานโครงการใหญ่ตลอด งานเอกสารพลาดไม่ได้เลย วิศวกรอื่น ๆ ก็เลยอาจจะอยู่ได้แค่งานแบบก่อสร้างเล็ก ๆ ห้องแถว อาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร ก็เลยเห็นภาพ "งาน" อยู่แค่นั้น ก็เลยเปรียบเทียบ "วิศวกร" เป็น "ช่าง" เป็นโฟร์แมน ไปซะ ซึ่งในความเห็นเรา เรายังแบ่งภาพ วิศวกรออกจากช่างได้นะ
สรุป ถ้าอยากเรียนวิศวะ มาแข่งกับ มหาวิทยาลัยที่เขาดังอยู่แล้ว ก็เอาตัวไปเข้ามหาวิทยาลัยนั้นให้ได้เถอะ ดีกว่าเรียนที่ไหนไม่รู้แล้วจบมา ไม่แน่นพอ ก็จะหางานไม่ได้ (ก็นายจ้างเขาก็เลือกได้นี่คะ) แล้วก็มาบ่นว่า วิศวกรเกลื่อน มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ
อย่าองุ่นเปรี้ยวกันเลยกับความคิดทีว่า "เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน" เข้าใจค่ะ พูดเพื่อให้ทุกคนรู้สึกดี แต่ในใจทุกคนรู้ค่ะว่า มันไม่เหมือนกันค่ะ ทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งหลักสูตร ทั้งเพื่อนรวมหลักสูตร ก็ยอมรับกันเหอะ แต่ไม่ใช่ว่าไม่ได้เข้า ม รัฐแล้ว อนาคตดับนะ อยู่ที่ตัวคุณเองล้วน ๆ เรามีเพื่อนที่จบ ราม จบ ม เอกชนทั่ว ๆ ไป ที่ทำงานดี ๆ ก็มี หลาย ๆ คนทำงานมาตั้งแต่ตอนเรียน บุคลิกก็จะมั่นใจมากกว่า แตกต่างกับคนที่เรียนอย่างเดียวไม่เคยทำงานเลย ซึ่งนั่นก็เป็นข้อดีของคุณ แม้ว่าจะไม่ได้จบ ม ดัง แต่หาจุดเด่นของตัวเองให้เจอ ตั้งใจ มั่นใจ มีทัศนคติที่ดี ก็ได้งานเหมือนกันค่ะ
สถาบันการศึกษา ไม่ได้ขีดอนาคตคุณไปจนตายนะ เริ่มทำงานอาจยากหน่อย แต่มันต้องได้แหละ ก็เรียนรู้ ผลักดันตัวเองขึ้นมาเรื่อย ๆ คนทำงานเป็นจริ ตั้งใจจริง จะฉายแววออกมาเองและ ยิ่งอยู่ในองค์กรที่มีแต่คนเก่ง (และคนดี) ก็จะทำให้คุณขวนขวาย อะไรมากขึ้นเอง สิ่งแวดล้อมในการทำงานมีผลอย่างมากจริง ๆ
บางคนเป็น surveyor ก็จบ ปวส ต่างจังหวัดนี่แหละ แต่ได้ทำกับบริษัทฝรั่ง เยอรมัน พวกซีเมนต์ หรืออื่น ๆ ทำงานดีตั้งใจ อนาคตก็รุ่ง ช่องทางการไปต่อเยอะ หลาย ๆ คน ยังยึดติดจะเกาะบริษัทใหญ่ไว้ดีกว่า (แหม เงินเดือนน้อยนิด) อยากแนะนำว่า ถ้าคุณมีศักยภาพจริง มีความสามารถจริง อย่ากลัวงานคอนแทรค ที่จริง งานคอนแทรคให้ค่าตอบแทนสูงมาก และมีโอกาสไปต่อได้หลายทางมาก พอ ถึง ณ จุดหนึ่งที่คุณ มีประสบการณ์แล้ว แม้ว่าจะจบที่ไหนมา แต่สถาบันมันไม่ได้มีความสำคัญอะไรแล้วเ่ท่ากับความรู้ความสามารถจาก ประสบการณ์แล้ว นอกจากจะขึ้นตำแหน่งผู้บริหารนะ อาจะต้องมีความรู้แน่นซักนิด ซึ่งก็ขวนขวายเรียนรู้เอาได้
บริษัทก่อสร้างเชื้อสายไทยแห่งหนึ่งแหละ ใหญ่มาก ใหญ่มากจริง ๆ แต่ระบบพูดตรง ๆ เหมือนราชการดี ๆ นี่เอง คนข้างในก็ หนังไท้ หนังไทย แอบรักผัวชาวบ้าน ขอไปนอนกับเขาได้มั้ย ขอเป็นเมียน้อยเขา อยากควงนายช่าง บลา บลา บลา วิศวกรในนั้น ถ้าไม่ใช่ระดับหัวหน้านะ ก็อยู่กันไปวัน ๆ (คนที่เก่งจะลาออกแล้วไปหางานที่อื่นที่ดีกว่า) พวกที่อยู่ในนั้น คิดว่าตัวเองเจ๋ง ข้าเป็นวิศวกร คนรอบข้างสรรเสริญเยินยอ เลยคิดว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น ชั้นสูงกว่าคนอื่น เคยเห็นถึงขนาดว่า "นายช่างเดินผ่านมา ต้องหลีกทางให้นะ เห็นนายช่างต้องนอบน้อม น้อมรับคำ" โอ๊ย ๆๆๆๆ อยากจะบ้า กรุไม่ใช่วิศวกร แต่กรุก็คนนะโว้ย นั่นแหละสังคมบริษัทนั้น เป็นวิศวกรจริง แต่ต้องคอยรับใช้พวก เจ้านายไป (วิศวกรระดับหัวหน้า) ไป เงินเดือนก็น้อย ถ้าอยากพัฒนาตัวเอง หางานในบริษัทที่ดี ๆ ไปเลยดีกว่า แล้วจะรู้ว่าการทำงาน "ที่ดี" มันควรจะต้องเป็นยังไง แล้วจะได้ไม่ต้องมีความรู้สึกว่า วิศวกรเกลื่อนเมือง
by Freedom of Life 

ความเพ้อฝัน - เรียนที่ไหนก็ได้ เหมือนกันหมด
ความจริง - ลองเป็นพ่อแม่แล้วมีลูกดู

ความเพ้อฝัน - วิศวกรตกงานเพราะตัวคนๆนั้น Profile ไม่ดีเอง จริงๆแล้วเราต้องทำให้ตัวเองเก่งๆสิ !! จะได้ได้งาน !!
ความจริง - ถ้าเค้าจะเอาน้องเค้าเข้ามาเป็น Junior (เค้ามีตัวเลือกในใจแล้ว) ต่อให้คุณมีคะแนนโทอิกได้เต็ม ก็หมดสิทธิ์ ยังไงเค้าก็ไม่เอาคุณ

ความเพ้อฝัน - จบ ม 3 ไปต่อเทคนิคละกัน
ความจริง - ถ้ามีเงินเรียนถึงปริญญาตรีอย่างสบายๆ นี่คือหายนะทางการศึกษาของคุณ

ความเพ้อฝัน - วิศวกรต่างประเทศเก่งๆเยอะ
ความจริง - มันก็คนเหมือนพวกเรา จะไปบูชาอะไรมันนักหนา

ความเพ้อฝัน - มหาวิทยาลัยต่างๆกำลังขยายโอกาสให้คนมาเรียนวิศวมากขึ้น
ความจริง - เวลาทำงาน หัวหน้าจะต้องมีปริมาณน้อยกว่าลูกน้องนะครับ ผมยังไม่เคยเห็นที่ทำงานที่ไหนลูกน้องมีปริมาณน้อยกว่าหัวหน้าเลย(ผมพยายาม หาเหตุผลที่หัวหน้ามากกว่าลูกน้องแต่ผมหาไม่ได้จริงๆว่ะ)

ความเพ้อฝัน - สักวันวิศวกรไทยจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมาได้
ความจริง - ทุกวันนี้แค่เรียนรู้เทคโนโลยีของชาวบ้าน ก็เรียนรู้ไม่ทันแล้ว

ความเพ้อฝัน - เรียนเก่ง วิศวกรเกียรตินิยม เป็นหน้าเป็นตาของพ่อแม่ และมีโปรไฟล์จบใหม่ที่ดี
ความจริง - ชีวิตมนุษย์ส่วนใหญ่จะใช้เวลาทำงานเฉลี่ยๆ 25-35 ปี

ความเพ้อฝัน - วิศวกร มีเกียรติ เท่ห์ เป็นอาชีพที่ใช้ความรับผิดชอบสูง
ความจริง - เวลาเรากินข้าวเราต้องใช้เงินซื้อนะ ถ้าผมจำไม่ผิด

ความเพ้อฝัน - จบมาเป็นวิศวกรใหม่ๆได้ทำงานในโรงงานใหญ่ๆนะ หรือไม่งั้นก็อาจจะมีบริษัทมาจองตัว
ความจริง - เงินเดือนพนักงานฝ่ายผลิตรวมโอที อาจจะได้มากกว่านายช่างจบใหม่แบบคุณ !!!
ผมขอยกมาให้อ่านเพียงแค่นี้นะครับ   เข้าไปอ่านฉบับจริง ๆแบบจัดเต็มยาวๆ มากๆ  อ่านเป้นชั่วโมงได้ที่
by  เพ้อฝัน

อ่านกระทู้นี้แล้วเจ็บปวดค่ะ...ม.เอกชนมันด้อยขนาดนั้นหรือ...

เราเรียนวิศวะ เพราะ อยากเป็นวิศวกร เป็นความใฝ่ฝันในชีวิต

เราจบวิศวะ..ม. เอกชน แต่ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่รวมกับเด็ก ม.รัฐบาล

หลายคน หลายบริษัท หลายที่ แต่บางครั้งก็ทำให้รู้ว่าเด็กที่จบจาก ม.รัฐบาล

ดังๆ มา ไม่ได้เก่งจริงทุกคนเสมอไป (เราเองก็แอบกลัว กลัวเราโง่กว่า..)

เด็กรัฐบาลก็ใช่ว่าจะมีคุณภาพเสมอไป เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อก็เยอะ....

ทำงานได้ไม่นานก็ลาออก กดดันหน่อยก็ลาออก หนักก็ไม่ไหว ร้อนก็ไม่เอา

สบายก็เบื่อ.... คงคิดว่าจบสถาบันดีๆ หางานที่ไหนก็ได้ไว

แต่นั่นล่ะ เหตุผล....ที่ทำให้ตกงาน....

(จากประสบการณ์ที่เคยพบเจอมาอันนี้เรื่องจริง)
by  tamp2499


ติดตามอ่านทั้งหมดได้ที่  http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2011/12/B11511040/B11511040.html