จากกรณีที่ ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.กระทรวงศึกษาธิการ
ได้มีนโยบายให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่ง
พิจารณาเปิดรับนักศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง
โดยรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 ปี
ในทุกสาขาที่เปิดสอนนั้น รศ.ดร.นำยุทธ
สงค์ธนาพิทักษ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดี มทร. 9 แห่ง กล่าวว่า ได้เชิญอธิการบดี
มทร.ทั้ง 9 แห่ง มาพูดคุยเพื่อรับทราบนโยบายในเรื่องดังกล่าวแล้ว
ซึ่งทุกแห่งก็พร้อมที่จะสนองนโยบาย
โดยล่าสุดรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการของแต่ละ
มทร.ก็ได้ประชุมเพื่อวางกรอบการดำเนินงานกันแล้ว
พร้อมทั้งได้มีการทำหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
เพื่อขอเปิดสอนระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี ในสาขาต่างๆ แล้ว ทั้งนี้หาก
สกอ.มีการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) พิจารณา
และอนุมัติให้ดำเนินการตามที่เสนอขอภายในปีการศึกษา 2556
ก็น่าจะสามารถเปิดรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวได้ทันที“ทาง มทร.ทั้ง 9 แห่งยินดีที่จะรับผู้ที่จบการศึกษาระดับ ปวส. เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี และที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่จะเปิดรับในบางสาขา และในจำนวนที่จำกัดตามที่คณะกรรมการ กกอ.อนุมัติให้ดำเนินการได้เท่านั้น แต่หากในอนาคตมีนโยบายที่ชัดเจนที่จะให้ มทร.ผลิตบัณฑิตหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปีต่อเนื่องในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นเราก็พร้อมที่จะสนองนโยบายแต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องดูผลกระทบให้รอบด้านด้วย เพราะต้องเข้าใจด้วยว่าสถานประกอบการต่างๆ ล้วนต้องการกำลังคนสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และปวส.เข้าไปทำงานเป็นผู้ปฏิบัติงานซึ่งหากเราส่งเสริมให้คนเหล่านี้หลั่ง ไหลเข้ามาเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ทั้งหมดและยิ่งล่าสุดผู้ประกอบการต่างปรับเงินเดือนให้กับผู้ที่สำเร็จการ ศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท ตามนโยบายของรัฐบาลยิ่งเห็นชัดเจนว่าผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. และปวส. ยิ่งพยายามที่จะเข้ามาเรียนต่อระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น ย่อมจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในสถานประกอบการต่างๆ ได้ ดังนั้นหากเป็นไปได้จึงอยากให้ผู้ที่จบ ปวช. และปวส.เมื่อจบการศึกษาแล้วควรได้เข้าสู่เส้นทางของการทำงานก่อน หลังจากมีประสบการณ์แล้วจากนั้นจึงค่อยเข้ามาเรียนต่อก็ได้” ประธานที่ประชุมอธิการบดี มทร. 9 แห่ง กล่าว
รศ.ดร.นำยุทธ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่จะให้ มทร. เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี โดยให้มีหลักสูตรที่หลากหลายเพื่อให้ผู้ที่จะเข้าเรียนสามารถเลือกเรียนได้ ตามความต้องการนั้น เรื่องนี้ตนมองว่าหากผู้ที่เรียนสายอาชีพมาก็ควรจะได้เรียนต่อในสาขาที่ เกี่ยวข้องต่อเนื่องกันเพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ ไม่ใช่ข้ามไปเรียนสายอื่นๆ เช่น จบสายอุตสาหกรรมแต่ข้ามไปเรียนสายศิลปศาสตร์ ซึ่งคงจะเกิดประโยชน์น้อย
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า