สพฐ.ถอยไม่ใช้โอเน็ตจบหลักสูตร หวั่นกระทบเด็กอื้อ-ต้องซ่อมทีหลัง
ชง รมว.ศธ.ใช้ 20% พ่วงผลการเรียน
ชง รมว.ศธ.ใช้ 20% พ่วงผลการเรียน
แหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
มีนโยบายให้นำผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติชั้นพื้นฐาน (โอเน็ต)
มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบหลักสูตรของ ผู้เรียนนั้น ว่า
ขณะนี้คณะทำงานของ สพฐ.ได้เสนอร่างประกาศให้นายชินภัทร ภูมิรัตน
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
พิจารณาเพื่อนำเสนอนายสุชาติ เห็นชอบแล้ว ก่อนจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
(ครม.) โดยจะเสนอให้ใช้คะแนน
โอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียนของนักเรียนเท่านั้น
จะไม่มีผลต่อการจบหลักสูตร ซึ่งจะใช้คะแนนโอเน็ตสัดส่วน 20%
ส่วนผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ใช้ 80%
โดยจะใช้ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3
และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา2555 นี้
"ผลคะแนนโอเน็ตนี้
จะไม่มีผลต่อการจบระดับชั้น หมายความว่าหากเด็กได้คะแนนโอเน็ตไม่ผ่าน
ก็ไม่มีผลต่อการเรียนต่อในระดับชั้นต่อไป แต่ผลคะแนนโอเน็ต จะทำให้ GPAX
ของเด็กลดลงได้ หากไม่ตั้งใจสอบ โอเน็ตเพื่อให้ได้คะแนนดี
โดยเฉพาะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยคะแนนโอเน็ตนี้
จะระบุไว้ในใบระเบียนแสดงผลการเรียน (รบ.) ของเด็กด้วย"
แหล่งข่าวระดับสูงกล่าว
แหล่งข่าวจาก สพฐ.กล่าวต่อว่า คณะทำงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากจะใช้ผลคะแนนโอเน็ต เป็นส่วนประกอบในการจบหลักสูตร จะต้องไปเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบว่าด้วยการจบหลักสูตร และหากใช้จะมีผล กระทบอาจทำให้เด็กไม่จบหลักสูตรเป็นจำนวนมาก และสพฐ.ก็ต้องมีการวางแผนเพื่อซ่อมเสริมให้เด็กได้จบตามหลักสูตร นอกจากนี้คณะทำงานยังเห็นว่าการใช้คะแนนโอเน็ตเพื่อจบหลักสูตร จะเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการให้ยาแรง ในขณะที่เด็กยังไม่ได้เตรียมความพร้อม อย่างไรก็ตาม สพฐ.คาดหวังว่าการใช้ผลคะแนนโอเน็ตมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียน จะเป็นตัวถ่วงน้ำหนักคะแนนการประเมินในระดับโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียนมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
ด้านนายสุชาติกล่าวว่า
ยังไม่ทราบรายละเอียดจาก สพฐ. แต่คาดว่าเร็วๆ นี้จะนำเสนอเข้า
ครม.เพื่อให้ทันประกาศใช้ในปี 2555 นี้แหล่งข่าวจาก สพฐ.กล่าวต่อว่า คณะทำงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า หากจะใช้ผลคะแนนโอเน็ต เป็นส่วนประกอบในการจบหลักสูตร จะต้องไปเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบว่าด้วยการจบหลักสูตร และหากใช้จะมีผล กระทบอาจทำให้เด็กไม่จบหลักสูตรเป็นจำนวนมาก และสพฐ.ก็ต้องมีการวางแผนเพื่อซ่อมเสริมให้เด็กได้จบตามหลักสูตร นอกจากนี้คณะทำงานยังเห็นว่าการใช้คะแนนโอเน็ตเพื่อจบหลักสูตร จะเป็นวิธีหนึ่งที่เป็นการให้ยาแรง ในขณะที่เด็กยังไม่ได้เตรียมความพร้อม อย่างไรก็ตาม สพฐ.คาดหวังว่าการใช้ผลคะแนนโอเน็ตมาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในผลการเรียน จะเป็นตัวถ่วงน้ำหนักคะแนนการประเมินในระดับโรงเรียนได้ ซึ่งจะส่งผลให้โรงเรียนมีการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน