จากกระแสที่มีการตื่นตัวในการเปิดประตูรับประชาคมอาเซียน ในปี 2558
ที่มีผลกระทบที่จะมี ผลกระทบต่อสถาบันการศึกษาโดยรวมก็คือ จะมีการแข่งขันระหว่างมหาวิทยาลัย
ดังนั้นอุดมศึกษาของประเทศจะต้องมีความเข้มแข็ง มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นซึ่งปัจจัยต่างๆนั้นก็คงนี้ไม่พ้น มาตรฐานการศึกษาสากล เครือข่ายการวิจัยการพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษาความสามารถ ในภาษาต่างประเทศ เป็นต้น
ในแง่มุมการศึกษา มหาวิทยาลัยในประเทศอาจต้องปรับรับมือ ซึ่งกรณีของมหานคร รศ. ดร.อธิคม ฤกษบุตร รองอธิการบดี และ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้แสดงความมั่นใจในศักยภาพความพร้อมด้านหลักสูตร และการเรียนการสอนที่มีความเป็นสากลแต่แรกเริ่มจนจนปัจจุบัน 20 ปีมาแล้ว มีคณาจารย์ประจำที่มีคุณภาพรู้วิธีคิดวิเคราะห์และบูรณการทักษtในการคิด เพื่อตอบโจทย์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ฉะนั้นที่ผ่านมาบัณฑิตที่จบจาก “ม.มหานคร” จึงสามารถไปทำงานในหลายๆได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เฉพาะในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น
รศ. ดร.อธิคม เสริมอีกว่า หลักสูตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่นี่มีจุดเด่น ที่สามารถผลิตบัณฑิตจนเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศนั่นเป็นเพราะมหาวิทยาลัยฯ ได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ ให้เป็นสากลตลอดมาในลักษณะเป็นแบบพลวัต หรือ Dynamic เรียกว่าเป็นการพัฒนาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา หากมหาวิทยาลัยฯ จะต้องทำเพิ่มเติมคือการเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาโดย ปัจจุบันด้านหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนก็มีการปรับไปแล้ว ตามกรอบมาตรฐาน TQF และมีกิจกรรมด้านภาษาอังกฤษตลอดซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีอาเซียนก็อาจเป็นวิกฤติ เนื่องจากแรงงานฝีมือจากประชาคมอาเซียนก็สามารถเข้ามาแย่งงานในประเทศไทpได้ เช่นกัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ ตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดีจึงได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อ กระตุ้นและมุ่งเน้นให้นักศึกษาพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพในทุกมิติ ขึ้นอยู่กับนักศึกษาจะรู้และยอมรับการปรับตัว
นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยฯยังให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างเครือข่ายระหว่าง มหาวิทยาลัยฯ ในต่างประเทศเพื่อการเกาะกลุ่มและมุ่งเน้นการพัฒนา ทางเทคโนโลยี และงานวิจัยไปด้วยกันเพราะองค์ความรู้ด้าน วิศวกรรม เป็นสาขาที่อยู่ในระดับสากลสามารถทำงานได้ทั่วโลกอยู่แล้ว วิศวกรหรือบัณฑิตที่จบจากม.มหานคร จะถูกสอนให้มีองค์ความรู้ และทักษะในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งจุดนี้จะทำให้บัณฑิตมีจุดเด่นทำงานได้ไม่ว่างานประเภทใด...
จากสถิติพบว่า บัณฑิตที่จบแล้วได้ทำงานตรงสาขามีเพียง 50-60% เท่านั่นสามารถประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นอย่างดี เนื่องจากมีองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนได้ฝึกทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาด้วยตนเอง อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อการทำงาน การเน้นสอนให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มเติมตลอดเวลาเป็นส่วนหนึ่งของปณิธานที่สืบทอดมาตั้งแต่การก่อตั้ง มหาวิทยาลัยฯ นี้ นั่นคือ “ความรู้ คือ พลัง”