รายชื่อมหาวิทยาลัยที่จะทยอยปรับเวลาเปิด - ปิดเทอม ตั้งแต่ 2555
จากมติของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยแจ้งมาว่าตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นไป มหาวิทยาลัยในประเทศไทยทุกแห่ง จะทยอยปรับเปลี่ยนช่วงเวลาเปิด - ปิดเทอมใหม่ เพื่อให้ตรงกับสากล และประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งทำให้เห็นว่าไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษา ที่จะพลักดันให้นักศึกษาไทยมีความทัดเทียมกับต่างชาติ และเป็นสากล และอีกไม่ช้าคงจะมีมหาวิทยาลัยนอกเหนือจากนี้ได้ปฏิบัติตาม ทำให้ประเทศไทยมีมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ
- เวลาเปิด-ปิดเทอมของมหาลัยใหม่
ภาคเรียนที่ 1 กันยายน - ธันวาคม
ภาคเรียนที่ 2 มกราคม - พฤษภาคม
ภาคเรียนที่ 3 (ซัมเมอร์ มีเฉพาะบางแห่ง) มิถุนายน - สิงหาคม
- รายชื่อมหาวิทยาลัยที่จะปรับเวลาเปิดเทอม ปี 2555 (นำร่อง)
- มหาวิทยาลัยนเรศวร (บางคณะ)
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เฉพาะภาค Inter บางคณะ)
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (บางคณะ)
ปี 2556
- คณะสาขาวิชาที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ ป.ตรี โท เอก (Inter)
ทุกมหาวิทยาลัย
ในปี 2557
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยทักษิณ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- มหาวิทยาลับบูรพา
- มหาวิทยาลัยพะเยา
- มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยศิลปากร
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
- กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9แห่งทั่วประเทศ
- กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ 41แห่งทั่วประเทศ
- มหาวิทยาลัยเอกชน (บางแห่ง)
ทั้งนี้ ทาง ทปอ. จะทำการเก็บข้อมูลศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ว่าการเลื่อนเปิดเทอมตามสากลนั้น ในแง่ของนักเรียน ผู้ปกครอง และสิ่งแวดล้อมต่างๆ มีข้อดี หรือข้อเสียอย่างไร เช่น จะไปทับซ้อนกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวรวมถึงเรื่องของสภาพอากาศด้วย เรื่องเวลาเปิด-ปิดเทอมของระดับมัธยม ทาง สพฐ.
จะเป็นผู้ดำเนินงาน
เรื่องระบบแอดมิชชั่น หากยึดตามปฏิทินเก่าในแต่ละปีที่ผ่านมา กระบวนการสอบแอดมิชชั่นจะสิ้นสุดประมาณเดือนพฤษภาคม หากมหาวิทยาลัยเลื่อนไปเปิดเทอมใหม่ในเดือนกันยายน ก็จะทำให้เกิดช่องว่างของนักเรียนระหว่างจบ
ม.6 – เข้ามหาวิทยาลัยนานถึง 4 เดือนเต็ม ซึ่งส่วนนี้ ทปอ. อาจจะเลื่อนกระบวนการสอบ GAT PAT O-NET ย้ายมาอยู่ใน 4 เดือนดังกล่าว ซึ่งมีผลดีคือ นักเรียนจะได้เรียน ม.6 อย่างเต็มที่ไม่ต้องพะวงมากับการสอบ GAT PAT หรือ O-NET
ขอขอบคุณ http://board.postjung.com/617662.html