ชี้ 'สมรรถนะ' โอกาสรอด นศ.จบอาชีวะฯ-มหา'ลัยในอนาคต

UploadImage
ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรง งาน ทีดีอาร์ไอ ชี้ผู้จบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในอนาคต ต้องมีสมรรถนะหรือคุณภาพสูงเท่านั้นจึงจะเอาตัวรอดได้ ต้องเน้นในเรื่องการพัฒนา
คุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา และความรับผิดชอบผู้เรียนมากขึ้น...

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. นายยงยุทธ  แฉล้มวงษ์  ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวถึงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงาน (ความต้องการกำลังคน) และนโยบายการศึกษา โดยระบุว่าผู้จบอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในอนาคต ต้องมีสมรรถนะหรือคุณภาพสูงเท่านั้นจึงจะเอาตัวรอดได้ จากการศึกษาพบว่า เศรษฐกิจไทยในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมามีความผันผวนค่อนข้างมาก ส่งผลให้ตลาดแรงงานของไทยโดยเฉพาะด้านอุปสงค์มีความผันผวนค่อนข้างมากเช่น กัน เท่าที่ผ่านมาภาคการผลิตและบริการของไทยในยุคต้นๆ ใช้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับบนคือมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไปเป็นสัดส่วนไม่ถึง ร้อยละ 20 และเพิ่มเป็นร้อยละ 30 ในปี 2553  ที่จริงหลังจากปี 2533 เป็นต้นมา ภาคเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นการผลิตแบบกึ่ง เทคโนโลยีมากขึ้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว กอปรกับทางรัฐบาลมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาให้เรียนฟรีจาก 9 ปี เป็น 12 ปี ทำให้มีผู้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้นและกลายเป็นกำลังแรงงาน ให้ภาคการผลิตและบริการได้ขยายตัวถึงร้อยละ 8 ต่อปี

นายยงยุทธ กล่าวต่อว่า ความจริงแล้วควรจะมีผู้จบการศึกษาระดับกลางสายสามัญและสายอาชีพเข้าสู่ตลาด แรงงานมากกว่านี้ แต่ผู้เรียนทั้งสองกลุ่มกลับมุ่งเรียนต่อปริญญาตรีและ ปวส. โดยคิดว่าจะได้ค่าตอบแทนและอนาคตที่สดใสและมั่นคงกว่า แต่สภาพเป็นจริงอุปสงค์ของตลาดแรงงานภาคการผลิตและบริการยังไม่สามารถขยาย ตัวได้ทันกับการเพิ่มขึ้นของผู้จบทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้ ถึงแม้ในปี 2553 การขยายตัวของภาคการผลิตและบริการสามารถจ้างงาน 2 กลุ่มนี้เพิ่มขึ้นสัดส่วนถึงร้อยละ 9.9 และ 5.7 ตามลำดับ ผลตามมาก็คือเกิดการว่างงานทั้งในระดับ ปวส. และปริญญาตรี กระจายอยู่ทั่วประเทศ  ปัญหาที่สะสมจากการใช้นโยบายการขยายสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั้งของภาค เอกชน และยกระดับวิทยาลัยครูเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้มีผู้จบการศึกษาออกมาจำนวนมาก เกิดปัญหาการว่างงานในระดับปริญญาตรีรวมกันมากกว่า 1 แสนคน ทำให้ดับฝันของผู้เรียน ปวส. และโดยเฉพาะปริญญาตรีไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตระหนักเรื่องนี้ดี จึงได้พยายามปรับทิศทางนโยบายการศึกษาใหม่ โดยกำหนดให้แผนการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ( 2552-2561 ) เน้นเรื่องพัฒนาสมรรถนะหรือคุณภาพของผู้เรียนอย่างเร่งด่วน โดยเน้นในเรื่องการพัฒนาคุณภาพครู คุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งการบริหารจัดการทางการศึกษาให้มีความรับผิดชอบกับผู้จบการศึกษามาก ขึ้นโดยหวังว่าทุกฝ่ายจะช่วยกันทำให้ผู้จบสายอาชีพและอุดมศึกษามีงานทำได้ มากขึ้น จนลดปัญหาการว่างงานในหมู่ผู้มีการศึกษาสูงได้ในช่วงการปฏิรูปการศึกษารอบ สองนี้

ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/edu/255039