ม.แม่ฟ้าหลวง เปิดแน่ เตรียมรับนักศึกษา ’แพทยศาสตร์’ ปี 56

UploadImage


   รศ.ดร.วันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งสำนักวิชา โดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยแล้ว เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2555  และแต่งตั้งคณบดีสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงอย่างเป็นทาง
การ คือ พลโท ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นพดล วรอุไร พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข  ซึ่งเห็นชอบในหลักการให้ โรงพยาบาลสุโขทัย และโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย จำนวน 2 แห่งเป็นโรงพยาบาลสมทบ และโรงพยาบาลแม่จัน โรงพยาบาล พญาเม็งราย โรงพยาบาลพาน โรงพยาบาลแม่สรวย โรงพยาบาลเชียงแสน โรงพยาบาลแม่สาย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จำนวน 7 แห่งของจังหวัดเชียงรายเป็นโรงพยาบาลชุมชน มหาวิทยาลัย             แม่ฟ้าหลวง จึงได้จัดพิธีการลงนามความร่วมมือในการผลิตแพทย์ร่วมกับโรงพยาบาลชุมชนของ จังหวัดเชียงราย ขึ้นในวันที่ 10 เมษายน 2555 ณ ห้องประชุมเชียงแสน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยสำนักวิชาแพทยศาสตร์เตรียมรับนักศึกษารุ่นแรกในปี การศึกษา 2556 จำนวน  32 คน คาดว่า 10 ปี จะสามารถผลิตแพทย์เพื่อรับใช้สังคมได้ 240 คน

ทั้งนี้การจัดตั้งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ เกิดจากความตั้งใจในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ แห่งความจงรักภักดีของปวงชนชาวไทยและรัฐบาล ที่มีต่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรม-ราชชนนี และเพื่อเป็นแหล่งสืบสานพระราชปณิธานของพระองค์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ประชาชนที่ด้อยโอกาสที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมหาวิทยาลัยมีความพร้อมและศักยภาพในการรองรับการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบ ครัว โดยมีสำนักวิชาที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์และสาธารณสุขที่มีอยู่เดิม คือ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มีอาคารและครุภัณฑ์ประกอบอาคารปรีคลินิค ที่สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมแพทย์และชั้นปรีคลินิก มีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่เน้นการแพทย์ทางเลือก ตลอดจนมีโครงการที่จะจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์  เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก

ด้าน นายแพทย์ ชำนาญ หาญสุทธิเวชกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงรายกล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ในชนบทมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายแพทย์สู่ชนบทยังเป็นปัญหาสำคัญมาโดยตลอด แม้จะมีความพยายามแก้ไขด้วยมาตรการต่างๆ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จ แพทย์ที่จบใหม่ยังคงต้องการมาศึกษาต่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรงเรียนแพทย์ใน กรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ๆ และไม่ต้องการกลับไปปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบทอยู่ดี การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แนวใหม่ที่มุ่งผลิตแพทย์ที่มีแนวคิดใหม่ตรงความต้อง การของชุมชน มีจิตใจรักผูกพันและต้องการปฏิบัติงานอยู่ในชุมชนกับชุมชน จึงเป็นทางออกสำคัญทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้จึงขอให้การสนับ สนุนการดำเนินการร่วมมือในการผลิตแพทย์ ระหว่างสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดเชียงราย และให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกประการ