นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่าแนวทางการเลือกคณะในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อใน
"ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา นิติศาสตร์และบัญชี ยังเป็นคณะที่มีคนเลือกเรียนจำนวนมากเพราะจบแล้วมีงานทำแน่นอน และที่สำคัญเงินเดือนเยอะ ดังนั้น สองคณะนี้จึงมีคะแนนสูงมาโดยตลอด ขณะที่แพทย์มีคนเรียนน้อยลง เพราะช่วงหลังมีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบของแพทย์ รวมถึงมีกรณีการฟ้องร้องมากประกอบกับคะแนนค่อนข้างสูง เด็กก็อาจจะไปเลือกในสาขาอื่นและมีบางคณะในสายสังคมศาสตร์ที่คนหันมาเรียนมา ขึ้น เพราะมีงานทำค่อนข้างแน่นอน เช่น คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เป็นต้น ส่วนด้านวารสารศาสตร์นั้นได้รับความนิยมเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันคนนิยมน้อยลงเรื่อยๆ" ประธาน ทปอ.กล่าว
ด้านนายสุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (มสด.) กล่าวว่า การเลือกคณะ สาขาวิชาของนักเรียนนั้น ส่วนหนึ่งจะเลือกตามค่านิยมเดิมๆ คือเลือกคณะยอดนิยม อาทิ คณะแพทยศาสตร์ นิติศาสตร์ เป็นต้น แต่ที่น่าจับตามองคือ หลักสูตรด้านภาษาต่างประเทศ และหลักสูตรอาเซียนศึกษา ความสัมพันธ์ต่างประเทศ รัฐศาสตร์การปกครอง ธุรกิจการบิน ซึ่งปีนี้น่าจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษเพราะประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งเด็กที่เข้าเรียนในปีนี้จะจบการศึกษาในปี 2558 พอดี นอกจากนี้ยังมีความต้องการของตลาดแรงงานอย่างปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาขาดแคลน ครู ทำให้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะครูคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และครูประถมวัย ที่สามารถดึงคนเก่งคนดีมาเรียนได้จำนวนมาก
ที่ปรึกษาอธิการบดี มสด.กล่าวต่อว่า นักเรียนที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเลือกคณะใดเลยและยังไม่ได้มองถึงอนาคตควรจะ ต้องเริ่มคิดเพราะเด็กรุ่นนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งการเข้าร่วมกับประชาคมต่างๆ อีกทั่วโลก ดังนั้นไม่อยากให้เลือกคณะ สาขาวิชาตามรุ่นพี่ ควรต้องมองกระแสปัจจุบันไปถึงอนาคตด้วย ขณะเดียวกันต้องมองที่ความชอบของตัวเองด้วยว่าสามารถเรียนได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าตามกระแสโลกและนึกถึงเฉพาะการมีงานทำเท่านั้น ไม่เช่นนั้นก็จะเรียนอย่างไม่มีความสุข สุดท้ายก็ต้องออกกลางคัน
ที่มา: มติชนรายวัน