ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)
เปิดเผยถึงการดำเนินโครงการส่งเสริมให้เด็กมีคอมพิวเตอร์ใช้ว่า
ขณะนี้ได้มีบริษัทต่าง ๆทยอยนำเสนอเครื่องแท็บเล็ตเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความหลากหลายของเครื่องและความพร้อม
ของเนื้อหาที่มีอยู่ ดังนั้นในระหว่างนี้
สพฐ.กำลังดูความชัดเจนของงบประมาณว่า
งบฯที่ขอแปรญัตติเพิ่มจะได้ตามที่ขอไปหรือไม่
ส่วนการแจกแท็บเล็ตให้นักเรียนช่วงชั้นอื่น ๆ
จะมีการสำรวจตามความพร้อมของโรงเรียนและเขตพื้นที่
ซึ่งอาจต้องมีคุณสมบัติของเครื่องที่หลากหลายตามช่วงชั้นของนักเรียนที่ใช้
แต่จะไม่มีการกำหนดว่าจะใช้บริษัทใดเป็นพิเศษ
เพราะสพฐ.จะกำหนดผู้เรียนเป็นที่ตั้ง
ดังนั้นต้องนำมาตรฐานของผู้เรียนมาเป็นหลักเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติของ
เครื่อง และเมื่อนักเรียนมีอยู่ 4ช่วงชั้น
การใช้แท็บเล็ตก็จะมีความแตกต่างกัน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่าสำหรับการจัดสรรแท็บเล็ตให้นักเรียนช่วงชั้นอื่นได้จำนวน เท่าใดนั้นคงต้องฝากให้นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) หางบฯเพิ่มให้ โดย สพฐ.จะทำงานในส่วนของการเตรียมการ แต่ก็จะเปิดทางให้นำเครื่องที่มีคุณสมบัติสูงเข้ามาเสนอได้ด้วย หลังจากนั้นจึงจะค่อยประเมินเป็นวงเงินเสนอให้ ศธ.พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามวันที่ 21ธ.ค. จะมีการเปิดตัวโครงการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนชั้น ป.1ซึ่งผลการวิจัยน่าจะมีข้อค้นพบเกี่ยวกับคุณลักษณะของเครื่องด้วยว่าจะใช้ งานได้มากน้อยแค่ไหน
"สำหรับบริษัทแอปเปิ้ลที่มานำเสนอแผนที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ด้วยนั้น ผมเสนอความเห็นไปยังบริษัทแอปเปิ้ลให้ทำการบ้านเรื่องแผนการส่งเสริมการใช้ เครื่องไอแพดเพื่อการเรียนการสอน โดยสพฐ.จะไปสำรวจความพร้อมของโรงเรียน และต้องมีหลักเกณฑ์ความพร้อมของโรงเรียนในการนำไปใช้ เช่น ทักษะของครู และประสบการณ์การใช้ไอทีของโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา โดยจะจัดสรรประมาณ 10,000-20,000เครื่องสำหรับเด็ก ม.ปลาย ทั้งนี้บริษัทแอปเปิ้ลจะไปเคาะราคาออกมาว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ และ สพฐ.จะวางแผนในการดำเนินการต่อไป" ดร.ชินภัทร กล่าว.
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่าสำหรับการจัดสรรแท็บเล็ตให้นักเรียนช่วงชั้นอื่นได้จำนวน เท่าใดนั้นคงต้องฝากให้นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) หางบฯเพิ่มให้ โดย สพฐ.จะทำงานในส่วนของการเตรียมการ แต่ก็จะเปิดทางให้นำเครื่องที่มีคุณสมบัติสูงเข้ามาเสนอได้ด้วย หลังจากนั้นจึงจะค่อยประเมินเป็นวงเงินเสนอให้ ศธ.พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตามวันที่ 21ธ.ค. จะมีการเปิดตัวโครงการวิจัยการใช้แท็บเล็ตของนักเรียนชั้น ป.1ซึ่งผลการวิจัยน่าจะมีข้อค้นพบเกี่ยวกับคุณลักษณะของเครื่องด้วยว่าจะใช้ งานได้มากน้อยแค่ไหน
"สำหรับบริษัทแอปเปิ้ลที่มานำเสนอแผนที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ด้วยนั้น ผมเสนอความเห็นไปยังบริษัทแอปเปิ้ลให้ทำการบ้านเรื่องแผนการส่งเสริมการใช้ เครื่องไอแพดเพื่อการเรียนการสอน โดยสพฐ.จะไปสำรวจความพร้อมของโรงเรียน และต้องมีหลักเกณฑ์ความพร้อมของโรงเรียนในการนำไปใช้ เช่น ทักษะของครู และประสบการณ์การใช้ไอทีของโรงเรียน เป็นต้น ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบที่ต้องพิจารณา โดยจะจัดสรรประมาณ 10,000-20,000เครื่องสำหรับเด็ก ม.ปลาย ทั้งนี้บริษัทแอปเปิ้ลจะไปเคาะราคาออกมาว่าจะอยู่ที่เท่าไหร่ และ สพฐ.จะวางแผนในการดำเนินการต่อไป" ดร.ชินภัทร กล่าว.
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์