ความเป็นมาของโครงการค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์
โครงการค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับเยาวชนในเขตพัฒนาภาค เหนือได้รับแนวความคิดมาจากกิจกรรมของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระ บรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเคยได้จัดค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างปี พ.ศ.2515-2524 รวม 10 ครั้งติดต่อกันทุกปี แต่ด้วยเหตุประการใดมิทราบแน่ชัด หลังจากปี พ.ศ.2524 สมาคมวิทยาศาสตร์ฯมิได้จัดค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่กรุงเทพฯอีก
ประธานชมรมวิชาการ สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา คือ
นายชนันท์ อังศุธนสมบัติและนายวันชัย โสภณสกุลรัตน์
ซึ่งเคยได้เข้าค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์รุ่นที่ 10
ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
ได้ริเริ่มจัดโครงการค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับเยาวชนภาค
เหนือขึ้นที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 2-10
เมษายน 2525 โดยการสนับสนุนของประธานสมาคมวิทยาศาสตร์
สาขาภาคเหนือ(ศาสตราจารย์นายแพทย์บริบูรณ์ พรพิบูรย์)
และคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(รศ.ดร.อุดม ศรีโยาธา)
ในขณะนั้นเป็นอย่างดี โดยมีผศ.สุรพงศ์ เลิศทัศนีย์และอาจารย์ประทีบ
จันทร์คงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ในรุ่นแรกมีเยาวชนจากโรงเรียนในภาคเหนือเข้าร่วมโครงการ 40 คน
ในส่วนของนักศึกษาพี่เลี้ยงส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกชมรมวิชาการ
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ในขณะนั้นมีนายบุญมี เลิศอุทัยทรัพย์
นายสรุมิต มนูพานิชย์
และนายวชิรพันธ์ พัฒนโชติ เป็นต้น อีกส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาต่าง
คณะที่เคยเข้าร่วมวิจัยที่กรุงเทพฯมาแล้วได้แก่ นางสาววนิดา
ไชยสัจ(คณะพยาบาลศาสตร์) และนายพิสุทธิ์ ทัพพะรังสี(คณะเทคนิคการแพทย์)
การฝึกอบรมของค่ายฝึกวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภาคฤดูร้อนสำหรับเยาวชนในเขตพัฒนาภาคเหนือ
ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเสื้อโครงการจำนวน1ตัว
ได้รับฟังการบรรยายทางวิชาการ
มีโอกาสฝึกปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ในทุกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ได้แก่
ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา
ตลอดจนการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์
และเริ่มต้นการทำวิจัยในระดับสากลโดยการค้นคว้าบทความทางวิชาการ (Journal)
และการวางแผนการวิจัยโดยการเขียนข้อเสนอโครงงาน(Project
Proposal)เป็นรายบุคคลตามสาขาที่ตนเองถนัดและสนใจ
ผ่านระเบียบวิธีการที่เป็นมาตรฐาน ในระยะเวลาที่กำหนด
โดยในแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษา
ที่ทางคณะกรรมการดำเนินการจัดหาให้ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ยังจะได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะในด้านอื่นๆ เช่น
กิจกรรมเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
กิจกรรมการทัศนะศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
และกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตอื่นๆ ที่ช่วยพัฒนาความรู้ ความคิด
สร้างเสริมบุคลิกภาพ ความกล้าแสดงออก และให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน
ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม
ผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคน จะต้องจัดทำรายงานการฝึกปฏิบัติงาน
และข้อเสนอโครงการเบื้องต้นตามแบบฟอร์มที่กำหนด
ส่งให้แก่ประธานกรรมการดำเนินการจัดค่าย
ตลอดจนนำเสนอผลการปฏิบัติงานและข้อเสนอโครงงานเบื้องต้นของแต่ละคน
ต่อที่ประชุมผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีวิทยากร อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
นักศึกษาพี่เลี้ยง และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังด้วย
โดยผู้ที่ผ่านการประเมินผลจะได้รับวุฒิบัตรเพื่อเป็นเกียรติสืบไป
สำหรับหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ
หากนักเรียนมีความต้องการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ในหัวข้อที่ได้เขียนไว้ในข้อ
เสนอโครงงาน หรืออาจเป็นหัวข้ออื่นที่นักเรียนมีความสนใจ
นักเรียนสามารถติดต่อกับทางพี่เลี้ยงชมรมวิชาการเพื่อประสานงานในการหานัก
วิจัยพี่เลี้ยงและห้องปฏิบัติการ (โดยนักเรียนอาจต้องหาทุนวิจัยด้วยตนเอง)
และสามารถจัดทำโครงงานได้ตามความสมัครใจ
อีกทั้งทางชมรมอาจจัดส่งข่าวสารแหล่งทุนวิจัย
ตลอดจนเวทีในการนำเสนอผลงานให้แก่นักเรียนด้วย