สพฐ.มั่นใจโอเน็ต วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40อย่างแน่นอน ไม่ต้องกังวลเตรียมความพร้อมแล้ว
ดร.ไพรวัลย์ พิทักษ์สาลี ผอ.สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ตั้งเป้าท้าทายนักเรียน ป.6 ม.3 และ ม.6ต้องทำคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต วิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40นั้น เรื่องนี้สำนักทดสอบทางการศึกษาของ สพฐ. มั่นใจว่าในปีการศึกษา 2554เด็กจะได้คะแนนโอเน็ตในวิชาดังกล่าวถึงร้อยละ 40อย่างแน่นอน และไม่มีความกังวลอะไรเนื่องจาก สพฐ. มีการเตรียมความพร้อมและประชาสัมพันธ์ให้ครูและโรงเรียนให้เข้าใจถึงกระบวน การสอบโอเน็ตอย่างต่อเนื่อง พร้อมสร้างความตระหนักให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศอย่างเข้มข้น ซึ่งจะเห็นว่ามีโรงเรียนหลายโรงได้พยายามจัดฝึกอบรมความรู้เรื่องการสอบโอ เน็ตไม่ว่าจะเป็นรูปแบบข้อสอบ หรือการสอบ รวมถึงพัฒนาครูให้เตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
"ที่ผ่านมาเราได้มีการประสานงานกับสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) มาตลอด และการที่ สพฐ.กำหนดเป้าหมายให้คะแนนโอเน็ตวิชาคณิตศาสตร์และภาษาไทย ร้อยละ 40ก็ถือเป็นตัวเร่งให้โรงเรียนที่อยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศได้พยายาม พัฒนาตนเองขึ้นมา โดย สพฐ.จะไม่สนใจโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ตที่สูง เพราะโรงเรียนเหล่านั้นมีการพัฒนาด้วยตัวเองอยู่แล้ว แต่ สพฐ.ต้องการเห็นการพัฒนาของโรงเรียนที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ตในสองวิชาดัง กล่าวต่ำเท่านั้น" ดร.ไพรวัลย์ กล่าว
ดร.ไพรวัลย์ กล่าวอีกว่า หากย้อนดูข้อมูลคะแนนโอเน็ตย้อนหลัง โดยเฉพาะปี 2553พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ค่าคะแนนเบี่ยงเบนจากความเป็นจริง เพราะมีข้อร้องเรียนจำนวนมากเกี่ยวกับตัวข้อสอบ รูปแบบข้อสอบที่เด็กยังไม่คุ้นเคย ดังนั้นหากจะดูข้อมูลค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ตภาพรวมของประเทศตั้งแต่ปี 2550-2552จะพบว่า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6วิชาภาษาไทย อยู่ที่ร้อยละ 39หรือแม้แต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3วิชาคณิตศาสตร์ ได้ร้อยละ 35ขณะที่มัธยมศึกษาปีที่ 6วิชาภาษาไทย อยู่ที่ร้อยละ 42 ดังนั้นการจะทำให้คะแนนโอเน็ตถึงร้อยละ 40จึงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะโรงเรียนจะรู้ด้วยตนเองว่าจะต้องพัฒนาตนเองให้สูงขึ้นกว่าฐานเดิมของตน เองได้อย่างไร เช่นโรงเรียนที่ทำค่าเฉลี่ยโอเน็ตฐานเดิมอยู่ที่ร้อยละ 50ก็ต้องตั้งเป้าให้มากขึ้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความท้าทายที่โรงเรียนอยากกำหนด